Page 24

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

12 4.2 ขอบเขตพื้นที่วิจัย ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่วิจัยโดยใช้ขอบเขตของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยที่ครอบคลุมพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย รวมพื้นที่ 83.61 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 52,000 ไร่) โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีพื้นที่ 64.10 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 40,000 ไร่) และลุ่มน้ำห้วยทรายมีพื้นที่ 19.51 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 12,000 ไร่) ลักษณะสภาพภูมิ ประเทศของพื้นที่ ทางตอนเหนือเป็นแนวภูเขาประกอบด้วยด้วยเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาหุบเจดีย์ เขาพระ รอกหนอกวัว และภูเขาเล็ก ๆ โดยอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติชะอำ-บ้านโรง ภายใต้ความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้ ด้านทิศใต้ติดกับเขาสามพระยาซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนหมายเลข 87 มีพื้นที่อยู่ในขอบเขตของลุ่มน้ำ ห้วยทราย บริเวณตอนกลางของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนินเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชน มีโครงข่ายถนน และ สาธารณูปโภคต่าง ๆ และด้านตะวันออกของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน ความดูแลของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และค่าย นเรศวร โดยมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาด ชายหาดทราย และมีสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านพักกระจาย อยู่ทั่วไปในพื้นที่ (ภาพที่ 2) ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิประเทศโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีระดับความสูงระหว่าง 10-650 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนความลาดชัน ของพื้นที่ ระหว่าง 0-73 เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างราบ และมีความลาดชันต่ำ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above