Page 31

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

19 5. ผลการวิจัย 5.1 สภาพพื้นที่โดยทั่วไป การกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งพื้นที่ ทางตอนเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาประกอบด้วยด้วยแนวเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาหุบเจดีย์ เขาพระรอกหนอกวัว และ ภูเขาเล็ก ๆ ด้านทิศใต้ติดกับเขาสามพระยา ตอนกลางของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนินเขา และด้าน ตะวันออกของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีความสูงระหว่าง 10-650 เมตร จากระดับน้ำทะเลปาน กลาง พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันต่ำ(ภาพที่ 5) ลักษณะภูมิอากาศ จากข้อมูลของสถานีตรวจอากาศที่อยู่โดยรอบพื้นที่ศึกษา พบว่า มีปริมาณ น้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 970 มิลลิเมตรต่อปี และมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 25-29 องศาเซลเซียส ส่วนการพิจารณาช่วง น้ำหลาก และช่วงแล้งฝน (Wet and dry period) พบว่า ช่วงน้ำหลาก อยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน ส่วนช่วงแล้งฝน อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม อย่างไรก็ตาม พื้นที่บริเวณอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาด้านสภาพอากาศ โดยมีทั้งสภาพของฝนทิ้งช่วง จนทำให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งจากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลว่า ประสบกับปัญหาฝนตกน้อย มากติดต่อกันหลายปี จนเกิดสภาพแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ศึกษา ลุ่มน้ำบางตราน้อย ประกอบด้วยหินแกรนิต (Kgr) หินดินดาน (CPk-1) หินตะกอนเชิงเขา (Qc) และหินตะกอนชายฝั่ง (Qms) มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 18.51, 5.04, 60.21 และ 16.24 ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ประกอบด้วยหินแกรนิต (Kgr) หินตะกอนเชิงเขา (Qc) และหิน ตะกอนชายฝั่ง (Qms) มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 15.44, 63.39 และ 21.17 ตามลำดับ (ภาพที่ 6) ซึ่งหินแกรนิต (Kgr) อยู่ในยุคครีเทเซียส (Cretaceous period) อายุประมาณ 66.4-140 ล้านปี ส่วนหินตะกอนเชิงเขา (Qc) และหิน ตะกอนชายฝั่ง (Qms) เป็นหินตะกอนในยุคควอเทอร์นารี(Quaternary period) อายุประมาณ 0.01-1.6 ล้านปี และหินดินดาน (CPk-1) อยู่ในยุคเพอร์เมียนถึงคาร์บอนิเฟอรัส (Permian to carboniferous) อายุประมาณ 245- 360 ล้านปี ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีสัดส่วนของหินจากมากไปน้อย คือ หินตะกอนเชิง เขา หินแกรนิต หิน ตะกอนชายฝั่ง และมีหินดินดาน ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทรายพื้นที่มีสัดส่วนของหินจากมากไปน้อย คือ หินตะกอนเชิงเขา หินตะกอนชายฝั่ง และหินแกรนิต ตามลำดับ ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาประกอบด้วย 6 ชุดดิน แบ่งตามสภาพภูมิประเทศ ได้ดังนี้ พื้นที่ดอน ได้แก่ดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC; Slope complex) พบบริเวณภูเขาทางตอนเหนือของลุ่มน้ำ พื้นที่ราบลุ่ม ได้แก่ชุดดินหนองแก (Nk) ชุดดินหุบกะพง (Hg) ชุดดินชลบุรี(Cb) และชุดดินวัฒนา (Wa) พบบริเวณตอนกลาง ของลุ่มน้ำ และพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ ชุดดินหนองแก (Nk) และชุดดินสมุทรปราการ (Sm) พบบริเวณตอนล่างของลุ่ม น้ำติดชายทะเล จากการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างดินทั้งหมด 10 ตัวอย่าง (ภาพที่ 7) ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง พบว่า เนื้อดินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดินทราย ซึ่งมีทั้งดินทราย (Sand) ดินทรายร่วน (Loamy sand) และดินร่วนปน ทราย (Sandy loam) ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ำมากถึงปานกลาง (0.41-2.11 เปอร์เซ็นต์) ธาตุอาหารต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง โพแทสเซียม ระดับต่ำมากถึงสูงมาก แคลเซียม ระดับต่ำถึงสูง และ แมกนีเซียม ระดับต่ำถึงสูง สามารถนำมาจัดลำดับตั้งแต่ชายฝั่งทะเลถึงบริเวณที่เป็นภูเขา ได้รายละเอียด ดังนี้ ดินที่อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเล ประมาณ 1.5 กม. จากแนวชายฝั่ง เป็นดินชุดหนองแก (Nk) ยังพบ ดินชนิดนี้แทรกอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มตอนบน ของคลองบางตราน้อย ห่างจากแนวชายฝั่งทะเล 10-15 กม. อีกด้วย เกิดจากตะกอนน้ำทะเลพามาทับถม สภาพการซึมได้ของน้ำช้า มีพืชทนเค็ม และที่มีหนามขึ้นอยู่มาก


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above