Page 38

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

26 5.3.2 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ศึกษาบริเวณลุ่มน้ำเพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำวิจัย โดยการใช้แบบจำลองภูมิอากาศโลก (Global Climate Models) หรือแบบจำลองหมุนเวียนทั่วไป (General Circulation Models; GCMs) ทั้งนี้ ข้อมูลสำหรับ พิจารณาเป็นข้อมูลในช่วงอดีต หรือปีฐาน ในช่วง ค.ศ.1970-2005 (พ.ศ.2513-2548) และพยากรณ์ข้อมูล ในปีอนาคต หรือการคาดประมาณ ในช่วง ค.ศ.2006-2040 (พ.ศ.2549-2583) ซึ่งผลการศึกษาจากงานวิจัย การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำ กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิเฉลี่ย และปริมาณน้ำฝน มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก ข้อมูลในปีฐาน โดยปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะมีค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 800 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ย มีค่าสูงขึ้นโดยมีค่าสูงกว่าปีฐาน ประมาณ 0.82 องศาเซลเซียส (จิรสรณ์, 2559) ทั้งนี้ ผล การศึกษาแสดงว่า ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศมีแนวโน้มที่ส่งผลทำให้อากาศมีความร้อนมากขึ้น ส่วนปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มลดน้อยลง ย่อมทำให้มีโอกาสเกิดสภาวะความแห้งแล้งได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ป่า รวมทั้งวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทั้งในพื้นที่เมือง และในเขตรอบนอก โดยเฉพาะประชาชนที่ประกอบ อาชีพในภาคการเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำฝนในกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยเสริมด้วย 5.4 ทรัพยากรป่าไม้ การสำรวจทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ทำการสำรวจครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน 2558 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2558 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 9-12 มกราคม 2559 โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 5 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) บริเวณพื้นที่เขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่องม่วง 2) บริเวณเขาพุหวาย 3) บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ (เขารังแร้ง เขาทอง เขาน้อย เขา กระปุก) 4) บริเวณเขาสามพระยา และ 5) บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ซึ่งจากข้อมูลรายงาน การศึกษา และผลการวิเคราะห์จากการศึกษาด้านการใช้ที่ดิน โดยสภาพสังคมพืชที่สำรวจพบ ประกอบด้วยป่า ผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่าฟื้นฟู/สวนป่า/ป่ารุ่นสอง ป่าชายเลน และป่าชายหาด ทั้งนี้ ภาพรวมของการสำรวจทรัพยากรป่าไม้มีรายละเอียด ดังนี้ 5.4.1 แปลงสำรวจทรัพยากรป่าไม้ การวางแปลงสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ในพื้นที่ที่กำหนดเป็นจุดสำรวจซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ เป็นตัวแทนของสภาพ สังคมพืชต่าง ๆ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณพื้นที่ศึกษา (ภาพที่ 9) โดยมีทั้งแปลงแบบถาวรเพื่อติดตามการ เปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมป่าไม้ และแปลงแบบชั่วคราวเพื่อพิจารณาลักษณะทางนิเวศวิทยาของพื้นที่ป่า โดยมีรายละเอียดของแปลงสำรวจแต่ละรูปแบบ ดังนี้


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above