Page 45

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

33 2) ป่าปลูกฟื้นฟู(ป่ารุ่นสอง/สวนป่า/ป่าปลูก) การฟื้นฟูป่าที่ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เป็นการฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งการใช้พื้นที่ทำการเกษตร และการพัฒนาโครงการ ต่าง ๆ โดยพื้นที่ที่มีการปลูกป่าฟื้นฟูประกอบด้วยบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ (เขารังแร้ง เขาทอง เขาน้อย เขากระปุก) รอบอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วย ทราย (บริเวณเขาสามพระยา) ซึ่งสภาพเดิมเป็นสภาพของป่าเบญจพรรณ โดยการปลูกฟื้นฟูป่ามีทั้งการปลูก ต้นไม้ชนิดเดียว ได้แก่ ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camandulensis Dehn.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) กระถินณรงค์(Acacia auriculaeformis Cunn.) กระถินเทพา (Acacia mangium Willd.) สนประดิพัทธ์ (Casuarina junghuhniana Miq.) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata Kurz) อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) เป็นต้น หรือปลูกผสมหลายชนิด เช่น สีเสียด (Acacia catechu (L.f.) Willd.) อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) ขะเจ๊าะ (Millettia leucantha Kurz) ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) เป็นต้น แต่ เนื่องจากสภาพดินซึ่งมีสภาพเป็นดินทรายจัด ทำให้การเจริญเติบโตของตันไม้ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม สภาพใน ปัจจุบันพบว่า มีต้นไม้ดั้งเดิมได้เจริญเติบโตขึ้นมาในพื้นที่ด้วย นอกจากนั้น ในพื้นที่ของอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร ก็ได้มีการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่โดยการปลูกต้นไม้หลายชนิดปนกัน แต่ก็มีการ เจริญเติบโตที่ไม่ดีจากสภาพของดินที่เป็นทรายจัด และปัญหาความแห้งแล้ง สำหรับการวางแปลงสำรวจ ลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจชั่วคราวรวมทั้งหมด 35 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวร รวม 4 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของทั้งพื้นที่ พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่ มาก และมีหลายขนาดไม่ต่างกันมากต้นไม้ขึ้นตามแนวที่ปลูกซึ่งมีระยะปลูกแตกต่างกันไป และมีไม้ดั้งเดิมขึ้น ปะปนอยู่ในแปลงปลูกด้วย (ภาพที่ 11) ชนิดไม้เด่นที่พบ เช่น อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camandulensis Dehn.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz) ขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt.) กระถิน เทพา (Acacia mangium Willd.) รัง (Shorea siamensis Miq.) กระแจะ (Ochna integerrima Merr.) สีเสียด (Acacia catechu (L.f.) Willd.) สนประดิพัทธ์(Casuarina junghuhniana Miq.) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata Kurz) หางนกยูง (Delonix regia (Bojer ex Hook.) Rafin.) มะค่าแต้(Sindora siamensis Teijsm. Ex Miq.) อ้อยช้าง (Lannea coromandelica Merr.) งิ้วป่า (Bombax anceps Pierre) ตะโกนา (Diospyros rhodocalyx Kurz) โมกมัน (Wrightia tomentosa Roem. & Schult.) แดง (Xylia xylocarpa Taub.) เป็นต้น เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ชั้น อินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร การวิเคราะห์ข้อมูลพบชนิดไม้ใหญ่ยืนต้น (Tree) 70 ชนิด ลูกไม้(Sapling) 77 ชนิด และกล้าไม้(Seedling) 41 ชนิด และพบไผ่ชนิดเดียว ได้แก่ ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) สำหรับไม้ใหญ่ยืนต้นมีขนาดความโต (Diameter at breast height: dbh) เฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ยประมาณ 10 เมตร ส่วนลูกไม้มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 7 เมตร โครงสร้างด้านตั้งของป่า (Plant profile) จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above