35 โดยเรือนยอดชั้นบน มีความสูงตั้งแต่ประมาณ 10 เมตร ขึ้นไป ชนิดไม้เด่นที่พบในชั้นเรือนยอดนี้ส่วนใหญ่เป็น ชนิดไม้ที่ปลูก เช่น อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camandulensis Dehn.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) สนประดิพัทธ์ (Casuarina junghuhniana Miq.) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata Kurz) ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) เป็นต้น ส่วนไม้ดั้งเดิมที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นไม้เด่นในพื้นที่ป่าปลูกฟื้นฟู เช่น ตะโกนา (Diospyros rhodocalyx Kurz) ประดู่(Pterocarpus macrocarpus Kurz) อ้อยช้าง (Lannea coromandelica Merr.) กาสามปีก (Vitex peduncularis Wall. ex Schauer) มะกอก (Spondias pinnata (L.f.) Kurz) มะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.) เป็นต้น ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง เป็นชั้นเรือนยอดของไม้ยืนต้นต่าง ๆ และ ลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม มีความสูงน้อยกว่า 10 เมตร ซึ่งหลายชนิดเป็นชนิดเดียวกับที่พบในชั้นเรือนยอดชั้นบน รวมทั้ง ไม้ขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนกล้าไม้ เป็นชนิดเดียวกับไม้ใหญ่ และลูกไม้ที่พบในพื้นที่สำรวจ และไม้พื้นล่างอื่น ๆ รวมไปถึงวัชพืชต่าง ๆ เช่น ผกากรอง (Lantana camara Linn.) หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) ไมยราบยักษ์(Mimosa pigra Linn.) สาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.) หนามคณฑา (Harrisonia perforata (Lour.) Merr.) ชุมเห็ดไทย (Cassia tora Linn.) หญ้าขจรจบ (Pennisetum sp.) กระเพราผี (Hyptis suaveolens (L.) Poit) หนามเกี่ยวไก่(Capparis sepiaria Linn.) และหญ้าอีกหลายชนิด 3) ป่าชายหาด ภายในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพของสังคมพืชที่ ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีสภาพเป็นดินทรายจัด และไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล เป็นกลุ่มของต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่ มาก พบได้ตั้งแต่บริเวณที่ติดกับชายทะเล และห่างออกมา บางบริเวณมีการปลูกต้นไม้หลายชนิดเพื่อปรับปรุง สภาพของระบบนิเวศด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มของต้นไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ที่มีขนาดไม่โตมาก และพบเป็น หย่อมขนาดเล็ก สำหรับการวางแปลงสำรวจลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจชั่วคราวรวม ทั้งหมด 25 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 2 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของทั้งพื้นที่ พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กขึ้นอยู่เป็นหย่อม บางพื้นที่มีการปลูกฟื้นฟูซึ่งมีทั้งการปลูกไม้ ชนิดเดียว และการปลูกผสม (ภาพที่ 12) โดยชนิดไม้ที่ปลูก เช่น สนประดิพัทธ์(Casuarina junghuhniana Miq.) ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) เป็นต้น สภาพสังคมพืช โดยรวมมีเรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือน ยอด ชั้นอินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร การวิเคราะห์ข้อมูลพบชนิดไม้ใหญ่ยืนต้น (Tree) 35 ชนิด ลูกไม้(Sapling) 34 ชนิด และกล้าไม้(Seedling) 16 ชนิด และพบไผ่ 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) และไผ่บง (Bambusa natans Wall.) สำหรับไม้ใหญ่ยืนต้นมีขนาด ความโต (Diameter at breast height: dbh) เฉลี่ยประมาณ 16 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ยประมาณ 10 เมตร ส่วนลูกไม้มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 6 เมตร โครงสร้างด้านตั้งของป่า (Plant profile) จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน มีความสูงตั้งแต่ประมาณ 10 เมตร ขึ้นไป ชนิดไม้เด่นที่พบในชั้นเรือนยอดนี้ส่วนใหญ่เป็น ชนิดไม้ที่ปลูก เช่น อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) สนประดิพัทธ์(Casuarina junghuhniana Miq.)
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above