Page 49

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

37 ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) กระถินณรงค์(Acacia auriculaeformis Cunn.) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camandulensis Dehn.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) เป็นต้น ส่วนไม้อื่น ๆ ที่สำรวจพบ เช่น จามจุรี(Samanea saman (Jacq.) Merr.) มะขาม (Tamarindus indica Linn.) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) ประดู่(Pterocarpus macrocarpus Kurz) ขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt.) ขันทองพยาบาท (Suregada multiflorum Baill.) สะแกนา (Combretum quadrangulare Kurz) โมกมัน (Wrightia tomentosa Roem. & Schult.) เป็นต้น ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง เป็นชั้นเรือนยอดของไม้ยืนต้นต่าง ๆ และลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม มีความสูงน้อย กว่า 10 เมตร ซึ่งหลายชนิดเป็นชนิดเดียวกับที่พบในชั้นเรือนยอดชั้นบน รวมทั้งไม้ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่อย่าง หนาแน่น ส่วนกล้าไม้เป็นชนิดเดียวกับไม้ใหญ่ และลูกไม้ที่พบในพื้นที่สำรวจ และไม้พื้นล่างอื่น ๆ รวมไปถึงวัชพืชต่าง ๆ เช่น ผกากรอง (Lantana camara Linn.) หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) ไมยราบยักษ์(Mimosa pigra Linn.) สาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.) และหญ้าอีกหลายชนิด 4) ป่าชายเลน สภาพของป่าชายเลนบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (สวนป่าชายเลน ทูลกระหม่อม) ปลูกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 ปัจจุบันโครงสร้างของป่าชายเลน จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอด ชั้นบน ความสูงตั้งแต่5 เมตร ขึ้นไป ชนิดไม้เด่น ได้แก่โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl.) และโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.) ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง ความสูงน้อยกว่า 5 เมตร ชนิดไม้ที่พบ เช่น โพทะเล (Thespesia populnea (L.) Soland. ex Correa) ฝาด (Lumnitzera littorea (Jack) Voigt) เป็นต้น สำหรับพรรณไม้ ดัชนีที่สำคัญภายหลังจากการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน ได้แก่ แสมทะเล (Avicennia marina (Forsk.) Vierh.) โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl.) โกงกางใบใหญ่(Rhizophora mucronata Poir.) โพทะเล (Thespesia populnea (L.) Soland. ex Correa) และฝาด (Lumnitzera littorea (Jack) Voigt) สำหรับการวางแปลงสำรวจลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจ ชั่วคราวรวมทั้งหมด 5 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 2 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สภาพป่าแบ่งออกเป็น สองสภาพอย่างชัดเจน (ภาพที่ 13) คือ สภาพที่ต้นไม้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และขึ้นปกคลุมพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งพบ บริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนมีน้ำท่วมขัง และสภาพที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก บริเวณนี้มีสภาพเป็นดินทราย และการท่วมถึง ของน้ำไม่บ่อยครั้ง และยาวนานเหมือนสังคมแรก และเนื่องจากเป็นการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน ชนิดไม้ที่สำรวจพบจึงยังไม่ หลากหลายมาก เช่น แสมทะเล (Avicennia marina (Forsk.) Vierh.) โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl.) โกงกางใบใหญ่(Rhizophora mucronata Poir.) โพทะเล (Thespesia populnea (L.) Soland. ex Correa) ฝาด (Lumnitzera littorea (Jack) Voigt) ตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha Linn.) เหงือกปลาหมอดอกขาว (Acanthus ebracteatus Vahl) เถาถอบแถบ (Derris trifoliata Lour.) จาก (Nypa fruticans Wurmb) เป็นต้น สภาพของป่าชาย เลนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ โดยเป็นสังคมที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก พบในบริเวณที่ดินเป็นทราย และมีการท่วมขังของน้ำ ไม่บ่อยครั้ง และสังคมที่เป็นดินเลนติดกับทางน้ำ ซึ่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่กว่าการวิเคราะห์ข้อมูลพบชนิดไม้ใหญ่ยืนต้น (Tree) 5 ชนิด ลูกไม้(Sapling) 2 ชนิด และกล้าไม้(Seedling) 3 ชนิด มีขนาดความโต (Diameter at breast height: dbh) เฉลี่ยประมาณ 5 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 6 เมตร โดยโกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่ มีความสูง ถึงประมาณ 15 เมตร ส่วนสังคมไม้ขนาดเล็กซึ่งพบโพทะเล ฝาด เป็นไม้เด่นนั้น มีความสูงไม่เกิน 5 เมตร เนื่องจากเป็น สภาพของป่าชายเลนที่ปลูกฟื้นฟูขึ้น ต้นไม้จึงมีขนาดใกล้เคียงกันในแต่ละกลุ่มสังคม นอกจากนี้ในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (สวน ป่าชายเลนทูลกระหม่อม) ยังสำรวจพบโกงกางลูกผสม ซึ่งเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของโกงกางใบเล็ก และโกงกางใบ ใหญ่ ซึ่งมีอายุประมาณ 13 ปี(ภาพที่ 14)


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above