Page 52

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

40 5.4.4 ข้อมูลการศึกษาในแปลงถาวร การวางแปลงสำรวจทรัพยากรป่าไม้แบบแปลงถาวรเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพ ของทรัพยากรป่าไม้ และเป็นแปลงสาธิตสำหรับการศึกษาด้านทรัพยากรป่าไม้ ทำการวางแปลงทั้งหมด 15 แปลง ตัวอย่าง ประกอบด้วยป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) บริเวณเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่อง ม่วง บริเวณเขาพุหวาย บริเวณเขาทอง และเขาน้อย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) และบริเวณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ รวมทั้งหมด 7 แปลง ป่าฟื้นฟู/สวนป่า/ป่ารุ่นสอง/ป่าปลูก บริเวณอ่างเก็บน้ำ ห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) บริเวณเขาสามพระยา บริเวณเขาพุหวาย บริเวณเขาทอง และเขาน้อย และพื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร รวมทั้งหมด 4 แปลง ป่าชายเลนทั้งหมด 2 แปลง และป่าชายหาดอีก 2 แปลง ซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โดยมีรายละเอียดของแต่ละแปลงตัวอย่าง (ตารางที่ 3) ดังนี้ 1) แปลงถาวรแปลงที่ 1 พิกัดแปลง 594940N 1407594E บริเวณเขาหุบสบู่ เขา หนอกวัว เขาช่องม่วง มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมเต็งรัง มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 10 เมตรขึ้น ไป (ภาพที่ 15) ชนิดไม้ที่พบ เช่น งิ้วป่า มะกอก เขลง ตะแบกแดง เป็นต้น 2) แปลงถาวรแปลงที่ 2 พิกัดแปลง 597061N 1405399E บริเวณเขาเสวยกะปิ อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมเต็งรัง มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 10 เมตรขึ้น ไป (ภาพที่ 16) ชนิดไม้ที่พบ เช่น รัง ตะแบกแดง มะกอกเกลื้อน ประดู่แดง เป็นต้น 3) แปลงถาวรแปลงที่ 3 พิกัดแปลง 597483N 1404722E บริเวณเขาเสวยกะปิ อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือน ยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 5 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 17) ชนิดไม้ ที่พบ ได้แก่ รัง ตะแบกเลือด และกาสามปีก 4) แปลงถาวรแปลงที่ 4 พิกัดแปลง 597499N 1404602E บริเวณเขาเสวยกะปิ อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มีสภาพเป็นป่าปลูกฟื้นฟู ซึ่งมีทั้งตะแบกแดง สะเดา และอะราง มีการปกคลุมของ เรือนยอดประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมี ความสูงมากกว่า 10 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 18) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ ตะแบกแดง ตะโกนา อะราง และสะเดา 5) แปลงถาวรแปลงที่ 5 พิกัดแปลง 597731N 1403806E บริเวณศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายฯ มีสภาพเป็นป่าเต็งรังผสมเบญจพรรณ มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 5 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 19) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ ยอป่า รัง กาสามปีก อ้อยช้าง และพันชาด 6) แปลงถาวรแปลงที่ 6 พิกัดแปลง 598676N 1401740E บริเวณเขาพุหวาย มีสภาพ เป็นป่าเต็งรังผสมเบญจพรรณ มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่า แบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 10 เมตร (ภาพที่20) ชนิดไม้ที่พบ เช่น ประดู่ รัง อ้อยช้าง มะกอกเกลื้อน งิ้วป่า ตะแบกแดง เป็นต้น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above