Page 57

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

45 7) แปลงถาวรแปลงที่ 7 พิกัดแปลง 597752N 1400412E บริเวณเขาสามพระยา มี สภาพเป็นป่าปลูกฟื้นฟู มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 8 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 21) ชนิดไม้ที่พบ เช่น เขลง งิ้ว ป่า มะกอก โมกมัน เป็นต้น 8) แปลงถาวรแปลงที่ 8 พิกัดแปลง 592502N 1405761E บริเวณเขากะปุก เขา ทอง เขาน้อย มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมเต็งรัง มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 6 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 22) ชนิดไม้ที่พบ เช่น ตะแบกเลือด รัง แดง รัก เป็นต้น 9) แปลงถาวรแปลงที่ 9 พิกัดแปลง 598982N 1402175E บริเวณเขากะปุก เขา ทอง เขาน้อย มีสภาพเป็นป่าเต็งรังผสมเบญจพรรณ มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 6 เมตรขั้นไป (ภาพที่ 23) ชนิดไม้ที่พบ เช่น อ้อยช้าง รัง ตะแบกแดง มะค่าแต้ เป็นต้น 10) แปลงถาวรแปลงที่ 10 พิกัดแปลง 598493N 1401946E บริเวณเขากะปุก เขา ทอง เขาน้อย มีสภาพเป็นป่าปลูกฟื้นฟู(ยูคาลิปตัส) ผสมกับสภาพของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีการปก คลุมของเรือนยอดประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้น บนมีความสูงมากกว่า 10 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 24) ชนิดไม้ที่พบ เช่น มะกอกเกลื้อน แดง รัง อ้อยช้าง ยูคา ลิปตัส เป็นต้น 11) แปลงถาวรแปลงที่ 11 พิกัดแปลง 604264N 1402955E บริเวณป่าชายเลน ทูลกระหม่อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นป่าชายเลน มีการปกคลุมของเรือนยอด ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีความสูงประมาณ 5 เมตร (ภาพที่ 25) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ และเสม็ดขาว 12) แปลงถาวรแปลงที่ 12 พิกัดแปลง 604280N 1402936E บริเวณป่าชายเลน ทูลกระหม่อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นป่าชายเลน มีการปกคลุมของเรือนยอด ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีความสูงประมาณ 10-16 เมตร (ภาพที่ 26) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบ ใหญ่ และเสม็ดขาว 13) แปลงถาวรแปลงที่ 13 พิกัดแปลง 604261N 1402934E บริเวณพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นป่าชายหาดซึ่งมีทั้งต้นไม้ธรรมชาติ รวมทั้งไม้ที่ปลูกขึ้นมา มีการปก คลุมของเรือนยอดประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้น บนมีความสูงมากกว่า 5 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 27) ชนิดไม้ที่พบ เช่น ขันทองพยาบาท โมกมัน สะแกนา ข่อย มะขาม มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น 14) แปลงถาวรแปลงที่ 14 พิกัดแปลง 603866N 1402915E บริเวณพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นป่าที่ปลูกฟื้นฟูขึ้น มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ชั้นเรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบนมีความสูงมากกว่า 5 เมตรขึ้นไป (ภาพที่ 28) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ ยางนา และกระถินณรงค์ 15) แปลงถาวรแปลงที่ 15 พิกัดแปลง 603861N 1402852E บริเวณพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นป่าที่ปลูกฟื้นฟูขึ้น มีการปกคลุมของเรือนยอดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีความสูงประมาณ 15 เมตร (ภาพที่ 29) ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ สนประดิพัทธ์


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above