Page 62

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

50 ภาพที่ 29 การปกคลุมของเรือนยอด (Crown cover) และโครงสร้างด้านตั้ง (Plant profile) ในพื้นที่แปลง ถาวรแปลงที่ 15 ในบริเวณพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี 5.4.5 ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะนิเวศวิทยาป่าไม้เพื่อพิจารณาด้านชนิดไม้ที่สำรวจพบ ความหนาแน่นของไม้ใหญ่ ลูกไม้ กล้าไม้ และไม้ไผ่ และปริมาตรไม้ในพื้นที่ศึกษา (ตารางที่ 4 และตารางที่ 5) มีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 1) ป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) พื้นที่ศึกษา โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่ง กำหนดพื้นที่ศึกษาในขอบเขตลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชน และพื้นที่อื่น ๆ ส่วนพื้นที่ป่าไม้ที่เหลือปก คุลมในพื้นที่มีพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และประมาณ 34 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ ลุ่มน้ำห้วยทราย โดยสภาพป่าที่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสภาพสังคมของป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งรัง) โดยบริเวณพื้นที่เนินเขาที่ไม่สูงมาก ซึ่งดินลึกกว่า และค่อนข้างชื้นกว่า มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ แต่บริเวณที่สูงขึ้นไปบนไหล่เขาจนถึงยอดเขา ดินค่อนข้างตื้น และมีหินโผล่ มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง โดยป่าผสม ผลัดใบพบกระจายในพื้นที่สำรวจทั้งบริเวณพื้นที่เขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่องม่วง บริเวณเขาพุหวาย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ (เขารัง แร้ง เขาทอง เขาน้อย เขากระปุก) และบริเวณเขาสามพระยา ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของทั้งพื้นที่ วิจัย พบว่า เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น (Trees) 123 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 59 ต้นต่อไร่และเมื่อแยกพิจารณาตามขนาดความโต (Diameter at breast height : dbh) พบต้นไม้ขนาดความโต 10-30 เซนติเมตร เฉลี่ย 58 ต้นต่อไร่


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above