Page 74

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

62 1) ศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีปริมาณน้ำท่ารายปี9.69 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ความสูง 153.93 มิลลิเมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณฝน พบว่า คิดเป็น 16.35 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณ ฝน ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย มีปริมาณน้ำท่ารายปี2.63 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 134.80 มิลลิเมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณฝน พบว่า คิดเป็น 14.32 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณฝน 2) ปริมาณความต้องการใช้น้ำ การประเมินปริมาณความต้องการน้ำ ใช้ข้อมูลปริมาณความต้องการใช้น้ำที่ คิดเฉลี่ยต่อคนต่อปี โดยอ้างอิงจากปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในปริมาณ 1,288 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี(ธชณัฏ, มปป.) สำหรับการคำนวณปริมาณความต้องการน้ำสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ทั้งสองพื้นที่ 3) จำนวนประชากร ข้อมูลประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จังหวัด เพชรบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน จากข้อมูลสถิติประชากร พบว่า มีจำนวนครัวเรือนรวม ทั้งหมด 2,202 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือนในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย 1,432 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,592 คน และครัวเรือนในลุ่มน้ำห้วยทราย 770 ครัวเรือน จำนวนประชากร 4,620 คน 4) การประเมินความต้องการใช้น้ำ ในการประเมินความต้องการใช้น้ำสำหรับประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตรา น้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย พิจารณาจากข้อมูลศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ ปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ย ต่อคน และจำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งจากการประเมินจากข้อมูลปัจจุบัน (ปีพ.ศ.2558) พบว่า ปริมาณ ความต้องการน้ำของประชากรในลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เท่ากับ 11.07 และ 5.95 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งมีเทียบกับศักยภาพของลุ่มน้ำซึ่งมีศักยภาพในการให้น้ำได้9.69 และ 2.63 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี แสดงว่า ปริมาณน้ำที่พิจารณาเฉพาะการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภคมีไม่เพียงพอกับ ความต้องการ ทั้งนี้ การคำนวณนี้ไม่ได้พิจารณาถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอย่างอื่น ๆ ดังนั้น ในพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสอง แห่งนี้จึงประสบปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรในอนาคต เพื่อคำนวณ ปริมาณความต้องการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เปรียบเทียบกับศักยภาพการให้น้ำ ของลุ่มน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ซึ่งจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประชากรในอนาคต โดยใช้ข้อมูลอัตราการเพิ่มของประชากรในปีฐาน (พ.ศ.2553) ซึ่งมีอัตราร้อยละ 0.6 ต่อปี(วนิดา, 2554) คำนวณจากประชากรในปีปัจจุบัน (พ.ศ.2558) เพื่อ คาดการณ์จำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำในปีพ.ศ. 2563, 2573 และ 2583 ซึ่งจากการคำนวณ พบว่า ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อยจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,498, 20,591 และ 36,876 คน ส่วนประชากรในพื้นที่ ลุ่มน้ำห้วยทรายจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,183, 11,072 และ 19,828 คน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพ การให้น้ำของลุ่มน้ำเพื่อคำนวณปริมาณความต้องการน้ำ โดยคิดคำนวณจากประชากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละ ช่วงเวลา พบว่า ความต้องการน้ำของทั้งประชาชนในทั้งสองลุ่มน้ำในปีพ.ศ.2583 เพิ่มขึ้นเป็น 47.50 และ 25.54 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 5 และ 9 เท่าของศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ (ตารางที่ 9) แสดงให้ เห็นว่า ในอนาคตปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และความแห้งแล้ง เป็นปัญหาที่สำคัญของทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งจากการศึกษาในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่พื้นที่เกษตรกรรม และ พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัย และพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาต่าง ๆ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above