เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายาม หัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้อง เรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้ เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจ าการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่ส าคัญได้ และเข้า พระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ เมื่อทรงเจริญพระชันษา นอกจากจะทรงศึกษาในชั้นเรียนปกติแล้ว ยังทรง ปรึกษาขอค าแนะน าจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่เสมอ และทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองด้วย เช่น เมื่อเส ด็จพระราชด าเนินเยือน สถานที่ต่างๆ ก็จะทรงศึกษาประวัติความเป็นมา ชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของ สถานที่เหล่านั้น ในส่วนของด้านงานพระราชนิพนธ์ พระองค์ยังทรงมีนามแฝงอื่นๆนอกจากพระนาม “สิรินธร”ทรงใช้นามปากกา ในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่ “ก้อนหินก้อนกรวด” “แว่นแก้ว” “หนูน้อย” “บันดาล” แต่ละพระนามนั้น มีที่มาแตกต่างกันไป
วันอาสาฬหบุชา
To see the actual publication please follow the link above