Page 5

วันอาสาฬหบุชา

งานพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริการิณี พีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี โปรดการอ่านและการเขียนหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชา สามารถทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรองในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นอกจากใช้ พระนาม “สิรินธร” แล้ว พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนามได้แก่ 1.“ก้อนหินก้อนกรวด” เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึงพระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็นก้อนหิน หมายถึงพระองค์ ส่วนก้อนกรวด หมายถึง กุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโต เลยใช้ว่าก้อนหิน หวานตัวเล็กเลยใช้ ว่าก้อนกรวด รวมกันจึงเป็น “ก้อนหินก้อนกรวด”นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียว ตอนประพันธ์บทความ “เรื่องจากเมือง อิสราเอล” เมื่อปี 2520 2.“แว่นแก้ว” เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “ชื่อแว่นแก้ว นี้ตั้งเอง เพราะตอน เด็กๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ท าไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ “แว่นแก้ว” พระนามแฝงแว่นแก้วนี้ พระองค์ทรงเริ่มใช้เมื่อปี 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องส าหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน 3.“หนูน้อย” พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า “หนูน้อย” โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี 2523


วันอาสาฬหบุชา
To see the actual publication please follow the link above