โครงการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลน ก ารฟื้นฟูป่าชายเลนในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา พันธุ์ไม้ป่าชายเลนบางส่วนได้ล้มตาย เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปี พ.ศ.2553 ได้มีการปลูกป่าชายเลน โดยการมี ส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชน ทำให้ป่าชายเลนค่อยๆ ฟื้นคืนสภาพ และกำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และพบว่าพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในบาง พื้นที่มีอัตราการรอดตาย แต่มีอัตราการเจริญเติบโตไม่ดีเหมือนในพื้นที่อื่น จึงได้จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลนของ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ ปลูกป่าชายเลน และเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน ทูลกระหม่อมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เผยแพร่และสาธิตการ เรียนรู้ในพื้นที่จริง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับต่างๆ ต่อไป ผลการศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ต่างๆ ตามแนวระดับ จากขอบชายเลนขึ้นไป เมื่อวิเคราะห์อัตราการเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยเรียงลำดับจากระยะห่างจากแนวระดับพื้นที่จากขอบชาย เล น น้อยไปมาก จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ในบริเวณพื้นที่ริมน้ำมีน้ำท่วมขังสม่ำเสมอ หรือพื้นที่อยู่ติด ขอบชายฝั่งมากที่สุด พบว่าพันธุ์ไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก และแสมทะเล 2. ในพื้นที่ถัดจากขอบชายฝั่งขึ้นมาปานกลางมีระดับน้ำท่วมถึง สม่ำเสมอ พบว่าพันธุ์ไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ ถั่วขาว พังกาหัวสุ่ม ดอกแดง โปรงแดง และตาตุ่มทะเล 3. ในพื้นที่ดอนเป็นดินเหนียวและแข็ง น้ำท่วมถึงในช่วงที่มี ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด พบว่าพันธุ์ไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ ฝาดดอกขาว ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) ถั่วขาว (Bruguiera cylindrica) พังกาหัวสุ่มดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza) โปรงแดง (Ceriops tagal) ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa) จัดทำโดย กลุ่มวิจัยและพัฒนา อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 1281 ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 โทรศัพท์: 032-508-352 โทรสาร: 032-508-396 Email: siep@sirindhornpark.or.th Website: www.sirindhornpark.or.th ที่มาภาพ: ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน การแบ่งเขตพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน (Mangrove species zonation)
โครงการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลนของอุทยานสิ่งแวดล้อม
To see the actual publication please follow the link above