Page 2

โครงการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลนของอุทยานสิ่งแวดล้อม

สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม เป็นป่าชายเลนที่สร้างขึ้น โดยการ ปลูกพั นธุ์ไม้ป่าชายเลนตามโซน (Zonation) ที่เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ไม้ โดยแบ่งตามระดับความสูงของพื้นที่ และความสม่ำเสมอของการท่วมถึงของ น้ำทะ เล รวมทั้งสภาพดินเลนอ่อนและแข็ง อย่างไรก็ดี พบว่าพันธุ์ไม้ ป่าชายเลนที่ปลูกมีอัตราการเติบโตช้ากว่าพัน ธุ์ไม้ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นเอง ตามธ รรมชาติ ภาพการวางแปลงศึกษาพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดเพชรบุรี และเจ้าหน้าที่กลุ่มวิจัยฯ ใน ปี 2561-2563 ก ลุ่ม วิจัย และพัฒน า ได้จัด ท ำ โคร งก า ร ศึกษา ความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธรขึ้น เพื่อศึกษาหาสาเหตุการเจริญเติบโตช้าของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน และทำการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ ภาพการศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน และการศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม วิธีการศึกษาและผลการศึกษา การศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลน โดยทำการ วางแปลงทดลองจำนวน 8 แปลง ขนาด 5x5 เมตร จำนวน 7 แปลง ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมทะเล พังกาหัวสุ่มดอกแดง ถั่วขาว ตาตุ่มทะเล และโปรงแดง ส่วนแปลงทดลองแปลงที่ 8 ทำการวางแปลงขนาด 10x10 เมตร เป็นแปลงพันธุ์ไม้ผสม ทำการศึกษาโดยศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ และเก็บข้อมูล ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด-ลงต่ำสุด อุณหภูมิ รวมทั้งการตรวจวัดคุณภาพของดินโดยได้รับความอนุเคราะห์ จากสถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดเพชรบุรี ภาพการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ดินในป่าชายเลนของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีลักษณะเป็น ดินเลนตื้น มีส่วนประกอบของทรายมาก จึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พันธุ์ไม้ป่าชายเลนเติบโตช้า สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชา ยเลนของ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในปี 2561-2563 สรุปได้ว่าพันธุ์ไม้ที่ เหมาะสมที่สุดในการปลูกในโซนดินเลนแข็ง มีองค์ประกอบของดินทรายมาก ขาดความอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ดอนน้ำท่วมถึงไม่สม่ำเสมอ ได้แก่ ถั่วขาว โปรงแดง และพังกาหัวสุ่ม ดอกแดง สำหรับตาตุ่มทะเลมีการเติบโตดี แต่ไม่แนะนำให้ปลูกเนื่องจากมียางที่เป็นพิษ ส่วนพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมที่สุด ในการปลูกในพื้นที่เลนอ่อนริมคลองน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ และโกงกางใบเล็ก ในปี 2563 ได้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ต่างๆ ตามแนวระดับจา กข อบช า ยเ ลน ขึ้น ไป เพื่อศึกษาแนว ระ ดับพื้นที่ที่มี ค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม ต่อ ก า ร เ ติบ โ ต ข อ ง พัน ธุ์ไ ม้ป่า ช า ย เ ล น ช นิด ต่า ง ๆ ซึ่งทำการศึกษาโดยการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาที่อยู่ติดคลอง/แพรก ในช่วงที่มี ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด 2.7 เมตร พบว่าในพื้นที่การศึกษามีระดับน้ำสูง ประมาณ 10-15 เซนติเมตร และในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลงต่ำสุดจะเป็น พื้นที่ดอน ยกเว้นพื้นที่บริเวณริมขอบชายฝั่งที่มีน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ ภาพพื้นที่การศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ต่างๆ ตามแนวระดับจากขอบชายเลนขึ้นไป ทำการวางแปลงพื้นที่ศึกษาเป็นแนวตั้งตามระดับจากขอบชายเลนขึ้นไป ขนาด 2x10 เมตร จำนวน 8 แปลง โดยพันธุ์ไม้ที่ทำการศึกษา ได้แก่ โกงกาง ใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงแดง แสมทะเล ถั่วขาว พังกาหัวสุ่มดอกแดง ตาตุ่มทะเล และฝาดดอกขาว และทำการศึกษาการเจริญเติบโต โดยการ วัดความสูง ขนาดเส้นรอบวง และเรือนยอดของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ศึกษา ทุกๆ เดือน (มีนาคม-กันยายน 2563) ภาพการวางแปลงศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ต่างๆ ตามแนวระดับจากขอบชายเลนขึ้นไป


โครงการศึกษาความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ปลูกป่าชายเลนของอุทยานสิ่งแวดล้อม
To see the actual publication please follow the link above