Page 100

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

80 สรุป ไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ได้มีการถูกสำรวจในบริเวณอ่าวไทยและตามชายฝั่ง ตะวันออกและฝั่งตะวันตกของประเทศไทย โดยมีการเก็บตัวอย่างไปศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมจาก ไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ 20 และ 16 แหล่ง พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้โกงกาง ใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่มีค่าแต่ละแหล่ง แตกต่างกันไป โดยมีค่าเฉลี่ย 0.31 และ 0.38 ตามลำดับ และ ความแตกต่างระหว่างแหล่งของไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่มีค่า 0.25 และ 0.21 ตามลำดับ ส่วนการศึกษาระบบการสืบพันธุ์ในไม้โกงกางใบเล็กใน 3 แหล่ง พบว่ามีอัตราผสมข้ามแตกต่างกันไปกล่าวคือ ที่เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพฯ มีอัตราผสมข้ามต่ำที่สุดคือมีค่า 0.24 (24 เปอร์เซ็นต์) ส่วนอัตราผสม ข้ามของไม้โกงกางใบเล็กจากอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีและอำเภอกันตัง จังหวัดตรังมีค่าสูงถึง 1.00 (100 เปอร์เซ็นต์) และ 0.97 (97 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำเป็นแนวทางในการพิจารณาวางแผนอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรม ตลอดจนการปลูกและฟื้นฟูป่าของไม้โกงกางทั้งสองชนิดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (สุจิตรา, 2550) ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมและฟื้นฟูไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ ไม้โกงกางใบเล็ก 1. ควรจัดทำแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดในแหล่ง (ประชากร) ที่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมสูง มีอัตราผสมข้ามสูงและเป็นตัวแทนของฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ดังนั้นในไม้โกงกางใบเล็ก ควรอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมที่จังหวัดสงขลา อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะภูเก็ต หมู่บ้านสลักคอก เกาะช้าง และอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี 2. แหล่ง (ประชากร) ของไม้โกงกางใบเล็กที่ควรฟื้นฟูป่า คืออำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล หมู่บ้านแสมชัย จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอสวี จังหวัดชุมพร เพราะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำกว่าค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมเฉลี่ย 3. ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลการเก็บฝักโกงกางใบเล็กว่าเก็บมาจากที่ใด เมื่อใด ปลูกเมื่อใดและ มีป้ายปักอย่างชัดเจนที่ระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น 4. การเก็บฝักไม้โกงกางใบเล็กเพื่อการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด หรือการปลูกฟื้นฟูป่า หรือปลูกป่า ควรมีการประเมินอัตราผสมข้ามของฝักไม้โกงกางใบเล็กก่อนนำไปปลูก โดยควรเก็บแบบแยกต้นโดยให้เป็น ตัวแทนของแหล่ง (ประชากร) นั้นๆ และนำมาเพาะกล้าแบบแยกต้น แยกแหล่งแล้วนำตัวอย่างใบมาทำการ วิเคราะห์ประเมินอัตราผสมข้าม โดยใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ที่กล่าวมาข้างต้น ว่าต้นใด แหล่งใด มีอัตรา การผสมข้ามเท่าไร และควรเลือกฝักที่มาจากต้นและแหล่งที่มีอัตราผสมข้ามสูงเพื่อเพิ่มโอกาสในการรอด ตายและการเจริญเติบโตที่ดี เมื่อคัดเลือกแล้วจึงนำกล้าไม้ที่คัดเลือกจากแหล่ง (ประชากร) มาคละกันแบบ สุ่มให้ทั่วถึงโดยให้อัตราส่วนของแต่ละต้นเท่าๆ กันซึ่งควรเก็บ 30 ต้นต่อแหล่งและจำนวนกล้าไม้ขึ้นอยู่กับ ความต้องการที่จะปลูกในพื้นที่


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above