Page 101

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

81 5. การเก็บฝักเพื่อการปลูกฟื้นฟูป่าโกงกางใบเล็กควรเก็บหลายๆ ต้น อย่างน้อย 30 ต้นต่อแหล่ง โดยให้จำนวน ฝักจากแต่ละต้นมีจำนวนพอๆ กัน และควรเอาฝักที่ได้จากแหล่งเดียวกันมาปลูกในพื้นที่ป่าเดียวกันไม่ควรเอาฝักจาก แหล่งอื่นมาปลูกปะปนกันโดยเฉพาะไม่ควรเก็บข้ามฝั่งทะเล (ฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย) เพราะไม้โกงกางแต่ละพื้นที่จะ มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเฉพาะมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นสภาพการขึ้นลงของน้ำทะเล ความเค็มของน้ำทะเล ความลึกของดินเลน เป็นต้น หากไม่สามารถประเมินอัตราการผสมข้ามได้ตามข้อ 4 ควรเก็บฝักโกงกางใบเล็กแยกต้นและ เพาะกล้าไม้แยกกัน และสังเกตดูว่าฝักและต้นกล้าจากต้นใดมีลักษณะด้อย เช่น มีฝักสีขาวหรือสีเหลือง กล้าไม้มีสีขาว หรือสีเหลือง ถ้าพบไม่ควรเอากล้าไม้จากต้นนั้นไปปลูก เพราะมีลักษณะด้อย อันเกิดจากการผสมกันเองในหมู่ เครือญาติและกล้าไม้กล้าอื่นแม้เป็นสีเขียวก็มีแนวโน้มที่จะมียีนด้อยสูงเพราะมาจากต้นแม่ต้นเดียวกัน 6. เนื่องจากผลการศึกษาพบว่ามีการทำให้ป่าโกงกางใบเล็กเสื่อมโทรมโดยการบุกรุกพื้นที่ป่า เช่น กรณีที่อำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราดดังกล่าวข้างต้น มีผลทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรม ลดลง ดังนั้นควรเร่งปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์และบริหารจัดการไม่ให้มีการ ปลูกสร้างโรงแรม รีสอร์ท และการทำนากุ้งในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน (สุจิตรา, 2550) ไม้โกงกางใบใหญ่ 1. ควรอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดของไม้โกงกางใบใหญ่โดยใช้ข้อพิจารณาเช่นเดียวกับไม้โกงกาง ใบเล็ก จากพื้นฐานข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้โกงกางใบใหญ่จากแหล่ง (ประชากร) ที่มีความ หลากหลายทางพันธุกรรมที่สูง และเหมาะสมต่อการอนุรักษ์ คือ อำเภอเมือง จังหวัดตราด อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต หมู่บ้านสลักคอก เกาะช้าง จังหวัดตราด อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 2. พื้นที่ป่าที่ควรฟื้นฟู คือ พื้นที่หมู่บ้านแสมชัย จังหวัดเพชรบุรี เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความ หลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำกว่าที่อื่น แนวทางการจัดการเก็บฝักเพื่อการฟื้นฟูป่าควรดำเนินการ ตามขั้นตอนที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อไม้โกงกางใบเล็ก 3. ส่วนแนวทางในการดำเนินการเก็บฝักไม้โกงกางใบใหญ่เพื่อการฟื้นฟูป่า ปลูกป่า ทำตามขั้นตอน เช่นเดียวกับไม้โกงกางใบเล็กที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น 4. ไม้โกงกางใบใหญ่ถูกคุกคามค่อนข้างสูงจึงทำให้ไม่สามารถเก็บตัวอย่างมาศึกษาได้ในบางแหล่ง เช่น บริเวณอำเภอคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งแสดงให้เห็นภัยคุกคามฐานพันธุกรรมของไม้โกงกาง ใบใหญ่ในบางพื้นที่ ดังนั้นการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักถึงการอนุรักษ์ไม้โกงกางใบใหญ่ ให้แก่ประชาชนเข้าใจและมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งสำคัญ (สุจิตรา, 2550)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above