Page 104

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

84 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรไผ่ป่า ใบอ่อนของไผ่ป่า (Bambusa bambos) ที่เก็บจากป่าธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทยจำนวน 9 แหล่ง แหล่งละ 30 ต้น (ตัวอย่าง) (ตารางที่8. 2) ซึ่งห่างกันอย่างน้อย 100 เมตร ตารางที่ 8. 2 แหล่งเก็บตัวอย่างไผ่ป่า (Bambusa bambos) จากแหล่งธรรมชาติของประเทศไทย หมายเหตุ: oN คือ ตำแหน่ง Latitude oE คือ ตำแหน่ง Longitude ที่มา: รังสัน และ สุจิตรา, 2548 การสกัด วัดคุณภาพ และปริมาณดีเอ็นเอ การเตรียมดีเอ็นเอเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเอเอฟแอลพี (AFLP; Amplified Fragment Length Polymorphism) และไมโครแซทเทลไลท์ (Microsatellite) ต้องได้ดีเอ็นเอที่มีคุณภาพดี ไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งต่างๆ เพื่อป้องกันการตัดดีเอ็นเอที่ไม่สมบูรณ์และการวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาด โดย การทดลองนี้ได้นำตัวอย่างใบอ่อนของไผ่แต่ละชนิดมาล้างเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บริเวณผิวใบ ตามวิธีของ Zhang et al. (1997) แล้วนำมาสกัดดีเอ็นเอ ตามวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการสกัดของ Doyle and Doyle (1990) และ Changtragoon et al. (1996b) แล้วนำมาละลาย ใน 1X TE buffer (10 mM Tris –HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตร เก็บสารละลาย ดีเอ็นเอไว้ที่ ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพและปริมาณของสารละลายดีเอ็นเอ ด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (Agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความเข้มข้น 0.8 เปอร์เซ็นต์ และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้แสง อัลตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above