85 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคเอเอฟแอลพี รังสัน และ สุจิตรา (2548) ได้นำสารละลายดีเอ็นเอที่สกัดได้มาวิเคราะห์โดยเทคนิคเอเอฟแอลพีตาม วิธีของ Vos et al. (1995) และแยกชิ้นดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องแยกขนาดแบบ Non-denaturing polyacrylamide ด้วย เครื่อง Gel-scan 3000 (Corbett research, Australia) ที่ความเข้มข้นของโพลีอะคริลาไมด์ 6 เปอร์เซ็นต์ ใน 0.6X TBE Buffer ที่ผสมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ผ่านกระแสไฟฟ้า 800 โวลต์ นาน 60 นาที เปรียบเทียบกับ ดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 50 bp แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยแปลผลข้อมูลจากแถบดีเอ็นเอ ที่สามารถใช้แยกความแตกต่างของไผ่แต่ละชนิด เปรียบเทียบจากความเหมือนและความแตกต่างของรูปแบบ ของดีเอ็นเอ ที่เกิดขึ้นและคำนวณค่าความเหมือนทางพันธุกรรมด้วยวิธี Simple matching (Sneath and Sokal, 1973) นำมาเข้าสู่ตาราง Matrix โดยใช้ Nei and Li (1979) Similarity index เพื่อใช้ในการจัดกลุ่ม ศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยเทคนิคUnweigthed Pair Group Method of Arithmetic Average (UPGMA) (Sneath and Sokal, 1973) โดยใช้โปรแกรม NTSYS-pc version 2.01e (Rohlf, 1993) และแสดงผล ในรูปแบบของ Phylogenetic tree การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคไมโครแซทเทลไลท์ รังสัน และ สุจิตรา (2548) ได้นำสารละลายดีเอ็นเอที่เจือจางให้มีความเข้มข้น 50 นาโนกรัมต่อ ไมโครลิตร มาวิเคราะห์ด้วยไพรเมอร์ 2 ชนิด คือ Forward และ Reverse ดังตารางที่8. 3 โดยใช้ Taq DNA polymerase kit (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่องเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้ โปรแกรมดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที 94 องศาเซลเซียส 30 วินาที ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 55 หรือ 60 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิของ Annealing ของไพรเมอร์ 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 วินาที จำนวน 35 รอบ จากนั้นแยกชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้ตัวกลางชนิด Non-denaturing polyacrylamide gel ภายใต้เครื่อง Gel-scan 3000 ที่ความเข้มข้นของโพลีอะคริลาไมด์ 6 เปอร์เซ็นต์ ใน 0.6X TBE Buffer ที่ ผสมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ ผ่านกระแสไฟฟ้า 1,000 โวลต์ นาน 45 นาที เปรียบเทียบกับดีเอ็นเอมาตรฐาน หลังจากนั้นวิเคราะห์จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่ง (Number of allele per locus, N) จำนวนอัลลีลต่อ ตำแหน่งที่แท้จริง (Effective number of allele, ne) ค่าเฮเทอโรไซโกซิตี (heterozygosity) การ ทดสอบสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก (Hardy-Weinberg Equilibrium) ค่าสัมประสิทธิ์เอฟ (F-coefficient) และ การจัดแผนผังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al., 1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997)
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above