Page 111

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

91 สรุปผลการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของไผ่แต่ละชนิดได้แนวทางที่จะต้องศึกษาพัฒนา เครื่องหมายโมเลกุล (Markers) ที่จำเพาะต่อการวินิจฉัยชนิดของไผ่ที่มีปัญหาในการจำแนกพันธุ์ และมี ลักษณะภายนอกที่ไม่คงที่ซึ่งผันแปรตามสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไผ่ป่า (B. bambos) แสดงให้เห็นว่าไผ่ป่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง ซึ่งมีความแตกต่างระหว่าง แหล่งประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ จากการสุ่มตัวอย่างในการศึกษาในแต่ละภาค โดยใช้ Microsatellite markers ในการประเมินลักษณะความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในแต่ละแหล่ง และแต่ละภาคจะเห็น ว่าไผ่ป่ามีความผันแปรทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรดำเนินการจัดการแหล่งอนุรักษ์ทางพันธุกรรม ของไผ่ป่าที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่คุ้มครองอยู่แล้วเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิด ส่วนไผ่ป่าที่พบอยู่นอก พื้นที่อนุรักษ์ เช่น แหล่งที่ได้จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการศึกษาครั้งนี้ควรเผยแพร่ข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ใน ท้องที่ดำเนินการขยายพันธุ์และจัดทำเป็นแหล่งพันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดทั้งนี้เพราะว่า แหล่งพันธุกรรมที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ปะปนกับชุมชนและหมู่บ้านซึ่งมีโอกาสที่จะถูกทำลายแหล่งพันธุ์ได้ง่ายกว่าแหล่งอื่น นอกจากนี้จากการที่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไผ่ป่าในแต่ละแหล่งค่อนข้างสูงจึงควรดำเนินการ คัดเลือกแหล่งพันธุ์และต้นพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ไผ่ป่าให้ได้ผลผลิตสูงเพื่อประโยชน์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและระดับประเทศในการใช้ประโยชน์จากไผ่ให้ยั่งยืนต่อไป (รังสัน และ สุจิตรา 2548) ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ป่า 1. ควรจัดตั้งแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่ป่าในถิ่นกำเนิดทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะแหล่ง (ประชากร) ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงในพื้นที่ที่มีอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น จังหวัดสระแก้ว จังหวัด ลำปาง และจังหวัดกาญจนบุรี 2. ควรจัดตั้งแหล่งพันธุกรรมไผ่ป่านอกถิ่นกำเนิดในแหล่ง (ประชากร) ที่มีอยู่ใกล้ชุมชนและ ที่ล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลาย เช่น ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. ควรจัดตั้งแปลงปลูกไผ่ป่าเพื่อเป็นธนาคารอาหารชุมชน (Food bank) เพื่อลดความกดดันใน การเข้าไปตัดเอาหน่อและกล้าไผ่ป่าอย่างเกินกำลังไผ่ป่าตามธรรมชาติ (รังสัน และ สุจิตรา, 2548)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above