Page 112

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

92 บทที่ 9 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) โดยใช้เครื่องหมายเอเอฟแอลพี (AFLP markers) คำนำ กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) มีกระจายพันธุ์อยู่ตามภูเขาหินปูนและ หมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย (อบฉันท์, 2543) เป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมในการปลูกเลี้ยง เพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ระพี, 2535) กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ มีจำนวนประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว จัดเป็นพืชที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ของโลก (อุไร, 2545) ในขณะที่ข้อมูลทางด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ชนิดนี้ยังมีอยู่น้อยและไม่มีความชัดเจน เครื่องหมายดีเอ็นเอเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการศึกษาความหลากหลายและความใกล้ชิด ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต (สุรินทร์, 2545) ซึ่งจักรพันธ์และสุจิตรา (2548) ได้ใช้เทคนิค Amplified Fragment Length Polymorphism (AFLP) (Vos et al., 1995) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่เพื่อประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมของกล้วยไม้ชนิดดังกล่าวสำหรับ เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ในอนาคต ซึ่งรายละเอียดในการศึกษามีดังนี้ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมตัวอย่างกล้วยไม้รองเท้านารีเพื่อใช้ในการศึกษา จักรพันธ์ และสุจิตรา (2548) ได้มีการเก็บตัวอย่างใบของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่จาก แหล่งต่างๆ 6 แหล่ง ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวได้มีการเก็บรวบรวมไว้จากที่โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้รองเท้านารี ในพระราชดำริ ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือ คลอง จังหวัดกระบี่ ดังตารางที่ 9.1 ตารางที่ 9.1 ตัวอย่างกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) แหล่งต่างๆ ที่ใช้ใน การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ลำดับ แหล่งที่มาของตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง แหล่งที่มา 1 อ.เขาพนม จ.กระบี่ 7 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรม ที่มา: จักรพันธ์ และสุจิตรา, 2548 กล้วยไม้รองเท้านารี ในพระราชดำริ ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ต.เหนือคลอง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ 2 อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 10 3 อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ 20 4 เกาะนัก อ.เมือง จ.กระบี่ 4 5 เกาะน้อย อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 8 6 บ.คลองเตย อ.ทับปุด จ.พังงา 21


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above