98 สรุปผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ จากการศึกษากล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ทั้ง 6 แหล่ง โดยวิเคราะห์ลายพิมพ์เอเอฟแอลพี สามารถคัดเลือกตำแหน่งของแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่าง (Polymorphism) ได้ทั้งสิ้น 126 ตำแหน่ง (Loci) เมื่อวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม TFPGA ทำให้ทราบถึงสถานภาพทางพันธุกรรมโดยพบว่ากล้วยไม้รองเท้า นารีเหลืองกระบี่ทั้ง 6 แหล่งมีค่าเปอร์เซ็นต์ Polymorphism เฉลี่ยเท่ากับ 80.03 โดยพบว่าแหล่งอำเภอ ปลายพระยา จังหวัดกระบี่ มีค่าเปอร์เซ็นต์ Polymorphism สูงที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 91.27 ค่าความ หลากหลายทางพันธุกรรมโดยเฉลี่ยของทุกแหล่งมีค่าเท่ากับ 0.301 ซึ่งแหล่งที่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมสูงสุดคือแหล่งเกาะน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.334 ในขณะที่แหล่งที่มีค่า เปอร์เซ็นต์ Polymorphism ต่ำที่สุดคือแหล่งเกาะนัก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีค่าเท่ากับ 62.70 ซึ่ง สอดคล้องกับค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำที่สุดด้วย คือมีค่าเท่ากับ 0.263 อย่างไรก็ตามเมื่อ พิจารณาแล้วพบว่าตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์นี้ ได้มาจากการประเมินตัวอย่างจากแหล่งเกาะนัก อำเภอ เมือง จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีจำนวนเพียง 4 ตัวอย่าง เป็นผลมาจากการที่กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่พบเจอ ในธรรมชาติได้ยากโดยจะพบเจอได้ในบางพื้นที่เท่านั้น การเก็บรวบรวมตัวอย่างในเบื้องต้นจึงเก็บรวบรวม จากศูนย์รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ดังกล่าวและจำนวนตัวอย่างที่น้อยนี้เองอาจะส่งผลต่อโอกาสในการตรวจพบ ความแตกต่างของชิ้นดีเอ็นเอหรือโอกาสที่จะพบการเกิดหรือไม่เกิดลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ตำแหน่งใดตำแหน่ง หนึ่ง เนื่องจากข้อมูลแถบดีเอ็นเอของแต่ละตัวอย่างที่ได้มาจากเทคนิคเอเอฟแอลพีนั้น เกิดขึ้นจากผลของ การตัดชิ้นดีเอ็นเอด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ โพลีมอร์ฟิซึมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากการเกิดการกลายพันธุ์ของ ลำดับเบสแล้วเกิดการหายไปของตำแหน่งจดจำของเอนไซม์ตัดจำเพาะหรืออาจจะเกิดจากการขาดหายไป หรือเพิ่มเข้ามาของชิ้นส่วนดีเอ็นเอทำให้ชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดโดยเอนไซม์ตรงตำแหน่งเดียวกันมีขนาดที่แตกต่าง กันก็ได้ และปริมาณความผันแปรของตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ดังกล่าวมีอยู่มากมายแม้ว่าว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกันหรือเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม ดังนั้นหากทำการศึกษากับจำนวนตัวอย่างที่ยิ่งมากขึ้น เท่าใดก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการพบความผันแปรของตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์มากขึ้นเท่านั้น ทำให้ แหล่งที่มีตัวอย่างจำนวนน้อยอาจตรวจพบความแตกต่างของลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เกิดจากการตัดของเอนไซม์ ตำแหน่งต่างๆ ได้น้อยกว่าความเป็นจริง (จักรพันธ์ และสุจิตรา, 2548) การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของ กล้วยไม้รองเท้านารีแหล่งต่างๆ โดยแหล่งอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และแหล่งเกาะน้อยอำเภอ อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง จึงควรใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่ง อนุรักษ์พันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ในถิ่นกำเนิด และควรให้มีการฟื้นฟูความหลากหลาย ทางพันธุกรรมในพื้นที่อื่นๆ ที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำ เช่น แหล่งเกาะนัก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด ควรมีการดำเนินการขึ้น ด้วย หากแหล่งกระจายพันธุ์ทางธรรมชาติล่อแหลมต่อการบุกรุกและลักลอบใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ นอกจากนั้นค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งต่างๆ (Fst = 0.082) แสดงให้เห็นว่ามีความ แตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรในกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ทั้ง 6 แหล่งอยู่ประมาณ 8
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above