Page 119

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่มีการกระจาย พันธุ์แบบเฉพาะถิ่นอยู่ทางภาคใต้บริเวณจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และบริเวณอื่นๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างประชากรทั้ง 6 แหล่งของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่นี้ พบว่ามีค่า สูงกว่าค่าความแตกต่างที่ได้จากการศึกษาของ Sharma et al. (2003) โดยได้ศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมของกล้วยไม้ดิน Pterostylis aff. picta ซึ่งเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นใกล้สูญพันธุ์ของประเทศ ออสเตรเลีย จากการศึกษา Allozyme polymorphism พบว่าค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง ประชากร (Gst) ของกล้วยไม้ดิน Pterostylis aff. picta ทั้ง 9 ประชากร มีค่าเพียง 0.05 ทั้งนี้อาจเพราะว่า Allozyme มีจำนวนตำแหน่งและ Allele ที่จำกัด และอาจเป็นเพราะพื้นฐานทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ ชนิดนี้เองด้วย เนื่องจากเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่ใกล้สูญพันธุ์ (จักรพันธ์และสุจิตรา, 2548) ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ การศึกษาดังกล่าวข้างต้นทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพความหลากหลายทางพันธุกรรม ของกล้วยไม้รองเท้านารีแหล่งต่างๆ โดยแหล่งอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และแหล่งเกาะน้อย อำเภอ อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง จึงควรใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็น แหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ในถิ่นกำเนิด และควรให้มีการฟื้นฟูความ หลากหลายทางพันธุกรรมในพื้นที่อื่นๆ ที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำ เช่น แหล่งเกาะนัก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาการอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด ควรมีการ ดำเนินการขึ้นด้วย หากแหล่งกระจายพันธุ์ทางธรรมชาติล่อแหลมต่อการบุกรุกและลักลอบใช้ประโยชน์ ในทางมิชอบ นอกจากนั้นค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งต่างๆ (Fst = 0.082) แสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรในกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ทั้ง 6 แหล่งอยู่ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่มีการกระจาย พันธุ์แบบเฉพาะถิ่นอยู่ทางภาคใต้บริเวณจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และบริเวณอื่นๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างประชากรทั้ง 6 แหล่งของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่นี้ พบว่ามีค่า สูงกว่าค่าความแตกต่างที่ได้จากการศึกษาของ Sharma et al. (2003) โดยได้ศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมของกล้วยไม้ดิน Pterostylis aff. picta ซึ่งเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นใกล้สูญพันธุ์ของประเทศ ออสเตรเลีย จากการศึกษา Allozyme polymorphism พบว่าค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง ประชากร (Gst) ของกล้วยไม้ดิน Pterostylis aff. picta ทั้ง 9 ประชากร มีค่าเพียง 0.05 ทั้งนี้อาจเพราะว่า Allozyme มีจำนวนตำแหน่งและ Allele ที่จำกัด และอาจเป็นเพราะพื้นฐานทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ ชนิดนี้เองด้วย เนื่องจากเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่ใกล้สูญพันธุ์ (จักรพันธ์ และ สุจิตรา, 2548)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above