Page 122

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

102 50 หรือ 55 หรือ 60 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิของ annealing ของไพรเมอร์ 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 วินาที จำนวน 35 รอบ จากนั้นแยกชิ้นดีเอ็นเอโดยใช้ตัวกลางชนิด non-denaturing polyacrylamide gel ภายใต้เครื่อง Gel-scan 3000 ที่ความเข้มข้นของโพลีอะคริลาไมด์ 6 เปอร์เซ็นต์ ใน 0.6X TBE buffer ที่ผสมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ ผ่านกระแสไฟฟ้า 1,000 โวลต์ นาน 45 นาที เปรียบเทียบกับ ดีเอ็นเอมาตรฐาน หลังจากนั้นวิเคราะห์จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่ง (number of allele per locus, N) จำนวน อัลลีลต่อตำแหน่งที่แท้จริง (effective number of allele, ne) ค่าเฮเทอโรไซโกซิตี (heterrozygosity) การ ทดสอบสมดุลฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก (Hardy-Weinberg Equilibrium) ค่าสัมประสิทธิ์เอฟ (F-coefficient) และการจัดแผนผังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al.,1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997) ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ จากที่ สุจิตราและคณะ (2561) ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรไม้พะยูง (D. cochinchinensis) โดยใช้เครื่องหมาย DNA ชนิด microsatellite จำนวน 11 ตำแหน่ง ซึ่งตัวอย่างของ ความแตกต่างลักษณะทางพันธุกรรมในตัวอย่างที่ศึกษาได้แสดงใน ภาพที่ 10.1 พบว่าความหลากหลายทาง พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ.1 (ท่ามะปราง) จ.สระบุรี มี ความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือ มีค่า He = 0.63 ในขณะที่ความหลากหลายทาง พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูพานจังหวัดสกลนคร มีค่าต่ำกว่าแหล่ง อื่นโดยมีค่า He = 0.29 โดยที่ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ทั้ง 12 แหล่งมีค่า He = 0.39 รายละเอียดดังแสดงใน ตารางที่ 10.3 ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมภายใน ประชากร (Fis) ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรทั้งหมด (Fit) และค่าความแตกต่างทาง พันธุกรรมระหว่างประชากร (Fst) ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) เฉลี่ยทุกตำแหน่งมีค่าเท่ากับ 0.17, 0.31 และ 0.18 ตามลำดับ รายละเอียดแสดงใน ตารางที่ 10.4 COC_18 DELB_18 COC_6 ภาพที่ 10.1 รูปแบบความผันแปรของลักษณะทางพันธุกรรมตัวอย่างประชากรไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) จากเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ ที่ตำแหน่ง DELB_18, COC_6 และ COC_18 (ที่มา: สุจิตรา และ คณะ, 2561)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above