Page 121

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

101 วิธีการศึกษาวิจัย 1. การเก็บตัวอย่างใบของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในแหล่งต่างๆ สุจิตรา และคณะ (2561) ได้ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างใบของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จาก ป่าธรรมชาติและป่าปลูก 12 แหล่ง ดังแสดงในตารางที่ 10.1 ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) จากแหล่งต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรม แหล่งที่มา จังหวัด จำนวนตัวอย่าง อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี 29 อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อุบลราชธานี 23 อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก สกลนคร 28 อุทยานแห่งชาติภูพาน สกลนคร 28 อุทยานแห่งชาติภูผายล สกลนคร 29 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว บึงกาฬ 32 อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ หนองบัวลำภู 29 อุทยานแห่งชาติภูเวียง ขอนแก่น 30 อุทยานแห่งชาติตาดโตน ชัยภูมิ 32 พื้นที่ป่าปลูกไม้พะยูง ตรัง 31 หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ. 1 (ท่ามะปราง) สระบุรี 32 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ บุรีรัมย์ 30 ที่มา: สุจิตราและคณะ, 2561 2. การสกัด วัดคุณภาพและปริมาณดีเอ็นเอ สุจิตรา และคณะ (2561) ได้นำตัวอย่างใบอ่อนของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ตามตาราง ที่ 10.1 มาล้างเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บริเวณผิวใบแล้วนำมาสกัดดีเอ็นเอตามวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการ สกัดของ (Doyle and Doyle, 1990) และ (Changtragoon et al., 1996a) แล้วนำมาละลายใน 1X TE buffer (10 mM Tris–HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตร เก็บสารละลายดีเอ็นเอไว้ที่ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพและปริมาณของสารละลายดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความเข้มข้น 0.8% และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้แสง อัตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ 3. การวิเคราะห์ดีเอ็นเอโดยเทคนิคไมโครแซทเทลไลท์ สุจิตรา และคณะ (2561) ได้นำสารละลายดีเอ็นเอที่เจือจางให้มีความเข้มข้น 50 นาโนกรัมต่อ ไมโครลิตรมาวิเคราะห์ด้วยไพรเมอร์ 2 ชนิด (สุจิตราและคณะ, 2552; Hartvig et al., 2017) คือ forward และ reverse โดยใช้ Taq DNA polymerase (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่องเพิ่ม ปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้โปรแกรมดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที 94 องศาเซลเซียส 30 วินาที ที่อุณหภูมิ


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above