Page 127

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

107 สรุปผลการศึกษาวิจัย จากผลการศึกษาพบว่า ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ.1 (ท่ามะปราง) จ.สระบุรี มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือ มีค่าความหลากหลายทาง พันธุกรรม (He = 0.63) ในขณะที่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จาก อุทยานแห่งชาติภูพานจังหวัดสกลนคร มีค่าต่ำกว่าแหล่งอื่นโดยมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (He = 0.29) โดยที่ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ทั้ง 12 แหล่งมี ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (He = 0.39) และความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (Fst) ของ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) พบว่ามีค่า Fst = 0.18 (สุจิตรา และคณะ, 2561) ข้อเสนอแนะ เมื่อพิจารณาจากประชากรของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ทั้ง 12 ประชากร พบว่าประชากร ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ. 1 (ท่ามะปราง) จังหวัดสระบุรี (ภาค กลาง) มีความเหมาะสมในการเลือกเป็นตัวแทนสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด (In situ gene Conservation) เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูงกว่าประชากรไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากแหล่งอื่นๆ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี (ภาคอีสานตอนบน) อุทยานแห่งชาติตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ (ภาคอีสานตอนบน) และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ (ภาคอีสานตอนล่าง) ควรได้รับการพิจารณาเป็นแหล่งอนุรักษ์ ในถิ่นกำเนิดเช่นกัน เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ศึกษา โดยมีค่า He = 0.46, 0.40 และ 0.49 ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึง มีข้อเสนอแนะให้จัดทำแหล่งอนุรักษ์ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในถิ่นกำเนิดในพื้นที่ภาคกลาง 1 แหล่ง ภาคอีสานตอนบน 2 แหล่ง และภาคอีสานตอนล่าง 1 แหล่ง ตามแหล่งดังกล่าวข้างต้นตามลำดับ นอกจากนี้ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือ แหล่งไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติผาแต้มในจังหวัดอุบลราชธานี อุทยาน แห่งชาติภูผาเหล็ก อุทยานแห่งชาติภูพาน อุทยานแห่งชาติภูผายล ในจังหวัดสกลนคร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จังหวัดหนองบัวลำภู อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น ควรมีการพิจารณาการจัดการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดและมีการฟื้นฟูป่าไม้ในอุทยานดังกล่าว อย่างไรก็ตามจะต้องมีการพิจารณาข้อมูลด้านอื่นร่วมด้วย เช่น ภัยคุกคามของการบุกรุกทำลายป่าแต่ละ แหล่งอาจจะมีความล่อแหลมและความรุนแรงแตกต่างกัน ตลอดจนจำนวนต้นของไม้พะยูงที่เหลืออยู่ในป่า แต่ละแห่ง และการออกดอกออกผลของไม้พะยูงที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะต้องนำมาร่วมพิจารณาก่อนการ ดำเนินการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดและการฟื้นฟูป่า (สุจิตราและคณะ 2561)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above