108 บทที่ 11 การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะกับแหล่งที่มาของไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ในประเทศไทย คำนำ ไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศ ไทย ปัจจุบันไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหลมต่อการ สูญพันธุ์ เพราะมีความต้องการสูงจึงทำให้การลักลอบตัดไม้พะยูง (D. cochinchinensis) มากขึ้น ดังนั้นการ ประเมินสภาพแหล่งพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จึงมีความสำคัญต่อการวางแผนการ อนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ข้อมูลความความแตกต่างจากรูปแบบ บดีเอ็นเอในแต่ละพื้นที่ จากการศึกษาด้วยส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม สามารถใช้เป็นแนวทางในการระบุ แหล่งที่มาของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ลักลอบได้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อผลการพิสูจน์ไม้ลักลอบเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้สามารถ ตรวจสอบหลักฐานและสถานการณ์ได้รวดเร็ว แม่นยำ เพื่อนำผลการพิสูจน์มาใช้เป็นหลักฐานการดำเนินคดี ได้ ในการตรวจสอบชนิดพันธุ์ของพืชป่าด้วยข้อมูลด้านดีเอ็นเอ ในอดีต สุจิตรา (2552) มีประสบการณ์ใน การจำแนกไม้ยมหิน (Chukrasia tabularis และ C. velutina) ด้วยยีนฟอสโฟกลูโคสไอโซเมอเรส (phosphoglucose isomerase) ซึ่งสามารถจำแนกแหล่งไม้ยมกินในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางออกจาก แหล่งไม้ยมหินที่มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดราชบุรี และจังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมของความแตกต่างจากรูปแบบบดีเอ็นเอของคลอโรพลาสต์จีโนมใน แต่ละพื้นที่เพื่อใช้ในการระบุแหล่งที่มาของไม้พะยูง(D. cochinchinensis) การหาความแตกต่างของรูปแบบ ดีเอ็นเอในพื้นที่ต่างๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลด้านพันธุกรรมเบื้องต้นในการแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในแต่ละต้นและสามารถแสดงแหล่งกำเนิดของไม้ ซึ่งจะช่วยในการพิสูจน์ หลักฐานเพื่อพิจารณาคดีต่อผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (สุจิตรา และคณะ 2562) วิธีการศึกษาวิจัย สุจิตรา และคณะ (2562) ได้สกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างใบและเปลือกตามตารางที่ 11.1 ด้วยวิธี Doyle and Doyle (1990) แล้วนำมาเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ (PCR) ในส่วนที่ไม่ใช่ยีน (non-coding region) จากไพรเมอร์ ที่มีโพลิมอร์ฟิซึม จำนวน 3 คู่ได้แก่ trnS-trnG (trnS: 5´ GCC GCT TTA GTC CAC TCA GC 3´ trnG: 5´ GAA
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above