109 CGA ATC ACA CTT TTA CCA C 3´) จาก Halmilton (1999), trnV-trnM (trnV: 5´ TAC CTA CTA TTG GAT TTG AAC C 3´ trnM: 5´ GCT ATA CGG GCT CGA ACC 3´) จาก Demesure et al. (1995) และ trnC-petN1R (trnC: 5´ CCA GTT CAA ATC TGG GTG TC 3´ petN1R: 5´ CCC AAG CAA GAC TTA CTA TAT CC 3´) จาก Kress et al. (2005) ของคลอโรพลาสต์จีโนม บริเวณของอินทรอนและอินเทอจินิกสเปเซอร์ โดยคัดเลือกไพร เมอร์ที่เป็นสากล (universal primer) เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ โดยใช้สารละลายดีเอ็นเอที่ความเข้มข้นประมาณ 20- 50 นาโนกรัมต่อไมโครลิตร ปริมาตร 1 ไมโครลิตรสารละลายไพรเมอร์ทั้งฟอเวิร์ดไพรเมอร์ (forward primer) และ รีเวิร์ดไพรเมอร์ (reverse primer) ความเข้มข้น 10 พิโคโมลต่อไมโครลิตร ปริมาตรอย่างละ 1 ไมโครลิตร บัฟเฟอร์ที่มีความเข้มข้น 10 เท่า (10x reaction buffer : 100mM Tris-HCL pH8.3, 15mM MgCl2, 500mM KCl) ปริมาตร 2.5 ไมโครลิตร ดีเอ็นทีพี (dNTP mix: dATP dCTP dGTP และ dTTP ความเข้มข้นอย่างละ 2 มิลลิโมลาร์) ปริมาตร 1.5 ไมโครลิตร และเอนไซม์ Taq DNA polymerase 1 ยูนิตต่อไมโครลิตร (RBC Taq DNA Polymerase) ปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่นให้ครบ 25 ไมโครลิตร ผสมให้เข้ากัน และเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วย เครื่องพีซีอาร์ และตรวจสอบขนาดชิ้นดีเอ็นเอโดยใช้วิธีอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟรีซีส และย้อมเจลด้วย เอธิเดียมโบรไมด์ เพื่อดูผ่านแสงอัลตราไวโอเลต โดยเปรียบเทียบขนาดดีเอ็นเอกับดีเอ็นเอมาตรฐาน (1 kb DNA ladder) นำดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณเรียบร้อยแล้วมาวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมจากเครื่อง ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied) Biosystem, USA และนำมาวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์ เพื่อเปรียบเทียบ รูปแบบดีเอ็นเอ (haplotype) ในแต่ละพื้นที่ ประชากรของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ใช้ศึกษา
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above