Page 134

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

114 สรุปผลการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะ 1. จากผลการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบดีเอ็นเอที่พบในไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในแหล่ง ธรรมชาติของมีภาคกลางมีรูปแบบดีเอ็นที่แตกต่างจากรูปแบบดีเอ็นเอของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในภาคอีสานอย่างสินเชิง และพบว่ามีรูปแบบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะถิ่นคือ รูปแบบดีเอ็นที่ 4 พบเฉพาะจังหวัด ในภาคอีสานตอนบน รูปแบบดีเอ็นเอที่ 9 พบเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบดีเอ็นเอที่ 7 และ 12 พบ เฉพาะที่จังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 11 พบเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 3 พบเฉพาะ จังหวัดสระบุรี และรูปแบบดีเอ็นเอที่ 2 10 และ 8 พบเฉพาะที่จังหวัดมหาสารคาม ผลของรูปแบบดีเอ็นเอ ดังกล่าวสามารถใช้แยกแหล่งที่มาของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ได้ 2. รูปแบบของดีเอ็นเอของป่าปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรเหมือนกับรูปแบบดีเอ็นเอในจังหวัด อุบลราชธานีและรูปแบบดีเอ็นเอของป่าปลูกในจังหวัดตรังมีรูปแบบดีเอ็นเอเหมือนกับป่าในจังหวัด บุรีรัมย์ มหามาสารคาม ขอนแก่นและบึงกาฬ ผลการศึกษาครั้งนี้รองรับการพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ถูกลักลอบตัดที่ผิดกฎหมายได้ในอนาคต 3. ควรมีการขยายผลรูปแบบดีเอ็นเอ (Haplotype) เพื่อจัดทำเครื่องหมายดีเอนเอที่ระบุแหล่งที่มา ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อการวินิจฉัยแหล่งที่มาของไม้ที่ผิดกฎหมายที่อาจถูกตัดจากประเทศไทย (สุจิตรา และ คณะ, 2562)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above