115 บทที่ 12 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชัน (Dalbergia oliveri) ในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ คำนำ ปัจจุบันป่าไม้ในประเทศไทยถูกทำลายเป็นจำนวนมาก หนึ่งในต้นเหตุสำคัญมาจากการลักลอบตัด ไม้ของนายทุน เห็นได้จากสถิติคดีของไม้พะยูงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม้พะยูงเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทำให้เป็นที่ต้องการของนายทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ ไม้พะยูงในธรรมชาติลดจำนวนลงและเหลือน้อยนายทุนจึงเริ่มเบนความสนใจไปในไม้ชิงชัน สาเหตุที่เป็น ไม้ชิงชันเพราะไม้ชิงชันมีลักษณะและสีของไม้คล้ายกับไม้พะยูง และอยู่ในระดับราคาที่สามารถทำให้ตลาด เติบโตและทำกำไรได้มาก ทำให้ในอนาคตไม้ชิงชันในธรรมชาติอาจมีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลงและเหลือ น้อยเช่นเดียวกันไม้พะยูง อย่างไรก็ตามในการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้ชิงชันอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้อง ทราบสภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชัน ทั้งนี้ไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า simple sequence repeat (SSR) เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสซ้ำ เรียงตัวกันประมาณ 1-6 นิวคลีโอไทด์ โดยมีการซ้ำติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นช่วงยาวตั้งแต่ 2 ซ้ำขึ้นไป มีกระจายอยู่ทั่วไปในจีโนม (Litt and Luty, 1989; Handcock, 1999) ปัจจุบันไมโครแซทเทลไลท์เป็นดีเอ็นเอ มาร์กเกอร์ ที่นิยมในการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรม เพราะให้ความแตกต่างทางพันธุกรรมสูง Hartvig et al. (2017) ได้ทำการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรไม้พะยูงและไม้ชิงชัน มีข้อมูลว่าไม้ชิงชันถูกพบในหลายจังหวัดของราชอาณาจักรกัมพูชา และในพื้นที่อนุรักษ์ทางใต้ของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (CTSP, 2004) นอกจากนี้มีรายงานว่าพบในบางจังหวัดของประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวและเมียนมาร์ (Van Sam et al., 2004; USNH, 2003) ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมในการวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรมและการฟื้นฟูไม้ชิงชันซึ่งพบว่ามีการกระจายพันธุ์ของ ไม้ชิงชันโดยทั่วไปในป่าเบญจพรรณในแถบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของ ประเทศไทย สุจิตรา และคณะ (2564) จึงได้มีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อใช้ประเมิน สภาพแหล่งพันธุกรรมของไม้ชิงชัน ช่วยเป็นแนวทางในการคัดเลือกแหล่งพันธุกรรม เพื่อการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูไม้ชิงชันได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย สุจิตรา และคณะ (2564) ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างใบและเนื้อไม้ของไม้ชิงชันจากป่าธรรมชาติ ดังแสดงใน ตารางที่ 12.1 นำตัวอย่างใบและเนื้อไม้ของไม้ชิงชันมาสกัดดีเอ็นเอตามวิธีที่ประยุกต์ของ (Doyle and Doyle, 1990) และ (Changtragoon et al., 1996a) วัดคุณภาพและปริมาณของสารละลาย ดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (agarose gel electrophoresis) และนำแผ่นเจลไปส่องดู ภายใต้แสงอัตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above