Page 145

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

125 Depression ในไม้ Picea abies (Langlet, 1940 ; Eriksson et al., 1973; Hattemer and Bergmann, 1987; Changtragoon, 2005) นอกจากนี้การปลูกป่าโดยอาศัยการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Vegetative propagation) ไม่ว่า จะใช้วิธีการติดตา ต่อกิ่ง หรือ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) จะต้องมีการวางแผนและ คัดเลือกว่าควรใช้กี่ Clone และ แต่ละ Clone ควรมีกี่ Ramet เพื่อไม่ให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมและ ฐานพันธุกรรม (Genetic base) ต่ำเกินไป (Lindgren, 1993) เพราะถ้าต่ำเกินไปจะมีผลต่อท่อนพันธุ์ที่นำมา ปลูกเอง และต่อเมล็ดไม้ที่จะผลิตได้จากแปลงดังกล่าวในรุ่นต่อไปได้เพราะจะมีความอ่อนไหวต่อการถูก ทำลายจากโรคและแมลง ซึ่งจะเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ดังมีตัวอย่างมาแล้วในการปลูก Paulownia taiwaniana ในประเทศไต้หวัน (Finkeldey, 1992) นำเสนอข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าเป็นกรณีศึกษาเพื่อมาประกอบการพิจารณาวาง แผนการปลูกป่า โดยสุจิตรา (2537) ได้นำเอาความรู้ทางชีวเคมีและพันธุศาสตร์ป่าไม้ระดับโมเลกุล (Biochemical and molecular genetics of forest trees) โดยประยุกต์ใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene marker) มาช่วยวินิจฉัยพื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าโดยในที่นี้ได้ศึกษาระบบการ สืบพันธุ์ (Mating system ) โดยหาอัตราการผสมตัวเอง (Selfing rate) ในไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) และความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) ระหว่างหมู่ไม้ของไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) และไม้เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) เพื่อนำเอาข้อมูลทางพันธุกรรมของ พันธุ์ไม้แต่ละชนิดมาช่วยประกอบการพิจารณาและตัดสินใจว่าควรเลือกแหล่งของเมล็ดไม้ที่ใดในการผลิตกล้า ไม้เพื่อปลูกป่าตามวัตถุประสงค์ต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีการนำเสนอข้อมูล ดังกล่าวสุจิตรา (2537) ได้อธิบายการดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าวพอสังเขปดังนี้ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย วัสดุ: ไม้สนสองใบ สำรวจและเก็บ Cones ไม้สนสองใบ จากป่าธรรมชาติ 11 แหล่ง (ประชากร) จากภาคเหนือ (จังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดพิษณุโลก) และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัด ศรีสะเกษและ จังหวัดสุรินทร์) โดยจะคัดเลือกต้นที่มี Cones สน ประชากรละ 8 - 30 ต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของ ประชากร ดังรายละเอียดใน ตารางที่13.1 Cones สน ต้นละอย่างน้อย 5 Cones ได้ถูกนำมาแยกเอาเมล็ดออกจาก Cones สน แบบแยกต้น โดยที่เมล็ดจากแต่ละต้นจะไม่ปะปนกัน ไม้สะเดาไทย สำรวจและเก็บใบอ่อนไม้สะเดาไทยจากป่าธรรมชาติ 4 ประชากร โดยเก็บใบอ่อนของไม้สะเดาไทย ต้นละประมาณ 20 กรัม จำนวน 27 - 40 ต้น ต่อหนึ่งประชากร จากป่าธรรมชาติภาคกลาง (จังหวัดกาญจนบุรี) และภาคใต้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ จังหวัดชุมพร) ดังรายละเอียดใน ตารางที่ 13.1


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above