Page 144

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

124 บทที่ 13 ความสำคัญของข้อมูลทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่า ต่อการพิจารณาวางแผนการปลูกป่า คำนำ เนื่องจากผลของการบุกรุกทำลายป่าในอัตราที่สูงทั้งในอดีตและในปัจจุบันได้ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดลง จากอดีตเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้พันธุ์ไม้บางชนิดสูญพันธุ์และใกล้จะสูญพันธุ์ อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีการ ตื่นตัวทั้งภาครัฐและเอกชนได้เห็นความสำคัญของป่าไม้และได้ร่วมมือกันช่วยในการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่า ให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าและสภาวะสิ่งแวดล้อม ในการที่จะวางแผนการปลูกป่าซึ่งต้องอาศัยกำลังทั้งงบประมาณ แรงงานและเวลาอย่างมากจึงต้องมี การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้ได้ผลที่คุ้มค่าและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในที่นี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่า ซึ่งมีความสำคัญมาก ต่อการช่วยประกอบการพิจารณาที่จะวางแผนการปลูกป่าให้บรรลุจุดประสงค์ไม่ว่าจะเพื่อการอนุรักษ์แหล่ง พันธุกรรม รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือเพื่อหวัง ผลในเชิงการค้า ซึ่งการที่จะเตรียมเมล็ดและกล้าไม้ และพื้นที่ที่จะปลูกจะต้องคำนึงถึงด้วยว่าเมล็ดและ กล้าไม้ที่จะนำมาปลูกมาจากแหล่งไหน มีคุณภาพดีพอหรือไม่ และจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดภายใต้ สภาพแวดล้อมที่ผันแปรตลอดเวลาได้หรือไม่ ตลอดจนจะให้ผลผลิตสูงตามคาดหวังไว้หรือไม่ เนื่องจากไม้ป่าเป็นพืชที่มีอายุยาวนานกว่าพืชเกษตรทั่วๆไป ดังนั้นไม้ป่าจะต้องมีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการประกันความมีชีวิตรอดภายใต้สภาว ะแวดล้อมที่มีความผันแปร ตลอดเวลา (Changtragoon and Szmidt, 1993) ไม่ว่าจะเกิดจากวงจรธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตคือ การ ระบาดของโรคและแมลง หรือเกิดจากอิทธิพลของการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ เช่น การสร้างโรงงาน อุตสาหกรรม ทำให้อากาศและน้ำเสีย ตลอดจนสภาวะเรือนกระจก (Green house effect) และฝนกรด (Acid rain) สาเหตุดังกล่าวมีผลต่อความอยู่รอดของไม้ป่า ในทางกลับกันหากไม้ป่าสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ยาวนานก็ย่อมสนับสนุนทำให้สภาวะแวดล้อมดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ น้ำ และอากาศของโลกตลอดจนทำ ให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและสม่ำเสมอ ดังนั้นหากพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้ป่าที่เรานำมาปลูก ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตามดัง กล่าว ข้างต้นไม่ดีพอ คือมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะ แวดล้อมที่ผันแปรตลอดเวลาซึ่งยากต่อการควบคุมและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ (สุจิตรา, 2535; สุจิตรา, 2536ก; สุจิตรา, 2536ข; สุจิตรา, 2536ค; Changtragoon, 2005) สิ่งที่ต้องคำนึงอีกก็คือเมล็ดไม้ที่ได้จากหมู่ไม้ที่มีการผสมตัวเอง (Selfing) หรือผสมระหว่างต้นที่มี ลักษณะทางพันธุกรรมใกล้ชิดกัน (Inbreeding) จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ กล้าไม้จะ Sensitive ต่อการถูก ทำลายจากโรคและแมลงและเมื่อย้ายลงปลูกจะทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำ นอกจากนี้ต้นที่รอดตายจะมี การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ผลผลิตและปริมาตรเนื้อไม้ต่ำกว่าปกติ ดังตัวอย่างที่พบ Inbreeding


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above