Page 148

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

128 ตารางที่ 13.2 ไอโซเอนไซม์ 11 ระบบที่ใช้ศึกษาในไม้ป่า ระบบของไอโซเอนไซม์ (Isoenzyme system) 1. Leucine aminopeptidase 2. Glutamate-oxaloacetate transaminase 3. Glutamate dehydrogenase 4. Isocitrate dehydrogenase 5. 6-Phosphogluconate dehydrogenase 6. Phosphoglucomutase 7. Malate dehydrogenase 8. Glucose 6-phosphate dehydrogenase 9. Diaphorase 10. Formate dehydrogenase 11. Shikimate dehydrogenase 12. NDH-dehydrogenase 13. Phosphoglucose-isomerase ที่มา: สุจิตรา, 2537 ผลการศึกษาวิจัย ระบบการสืบพันธุ์ (Mating system) อักษรย่อ ( Abbreviation ) รหัสของเอนไซม์ (Enzyme Code) LAP GOT GDH IDH 6-PGDH PGM MDH G-6PDH DIA FDH SKDH NDH PGI 3.4.11.1 2.6.1.1 1.4.1.3 1.1.1.42 1.1.1.44 2.7.5.1 1.1.1.37 1.1.1.49 1.1.4.3 1.6.99.3 1.1.1.25 1.6.99.1 5.3.1.9 จากการศึกษาอัตราการผสมตัวเอง (Selfing rate) ในไม้สนสองใบ 11 ประชากร (Populations) ดังแสดงใน ตารางที่ 13.3 สุจิตรา (2537) พบว่าอัตราการผสมตัวเองของหมู่ไม้แต่ละประชากรมีความ แตกต่างกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 47.10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลจากการทดลองครั้งนี้พบว่าเมล็ดไม้ที่เก็บจากป่าธรรมชาติ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีค่าของอัตราการผสมตัวเองสูงที่สุด คือ 98.60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ เมล็ดที่เก็บจากป่าธรรมชาติบริเวณ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ คือมีค่า 61.50 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงกัน ข้าม เมล็ดไม้ที่เก็บจากป่าธรรมชาติ จากบริเวณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีอัตราการผสมตัวเอง น้อยที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 13.70 เปอร์เซ็นต์


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above