130 ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) ไม้สะเดาไทย ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างประชากรในไม้สะเดาไทยพบว่าความ หลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างประชากรมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดตามแหล่งกำเนิดและที่ตั้ง ของป่า กล่าวคือ สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังแสดงใน ภาพที่ 13.1 ได้อย่างเด่นชัด กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 คือ ประชากร จาก จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มที่ 2 คือประชากร จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกลุ่มที่ 3 คือประชากร จากจังหวัดชุมพร ส่วนความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีไม่มากนัก หรือ แทบจะไม่มีเลย ดังจะเห็นได้จาก ภาพที่ 13.1 ได้อย่างชัดเจน ภาพที่13.1 การวิเคราะห์ Cluster Analysis โดยใช้ Unweighted Pair Group Method โดยใช้ Nie’s (1978) Unbiased Genetic Distance ใน 4 แหล่ง (ประชากร) ของไม้สะเดา (Azadirachta indica var. siamensis) (ที่มา: สุจิตรา, 2537) ไม้เสม็ดขาว ภาพที่ 13.2 แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างหมู่ไม้เสม็ดขาวจากจังหวัด นราธิวาส ซึ่งจะเห็นว่าความแตกต่างทางพันธุกรรม ระหว่างประชากรจากป่าพรุโต๊ะแดง และจากป่าบริเวณ อำเภอกูจำ มีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระหว่างประชากรบริเวณเขากำปัน สรุป วิจารณ์และข้อเสนอแนะ การที่ไม้สนสองใบมีอัตราการผสมตัวเองค่อนข้างสูงคือเฉลี่ย 47.10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเท่ากับว่าเมล็ด โดยเฉลี่ยประมาณครึ่งหนึ่งเกิดจากการผสมตัวเอง ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมล็ด จากบางประชากร กล่าวคือจาก อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอัตราการผสมตัวเองสูงถึง 98.60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเท่ากับว่าเมล็ดไม้เกือบทั้งหมด เกิดจากการผสมตัวเอง แต่ในทางตรงกันข้ามเมล็ดไม้จาก ประชากร อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีอัตราการผสมตัวเองแค่ 13.7 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลพื้นฐาน ทางพันธุกรรมดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดเลือกแหล่งของเมล็ดไม้ว่าเมล็ดไม้ จากแหล่งใดควรที่จะนำมาเพาะและเตรียมกล้าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า หากมีการเลือกผิดก็จะส่งผลให้
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above