Page 151

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

131 ผลิตกล้าไม้ไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะเมล็ดกล้าไม้ที่มียีนด้อย (Recessive alleles) ซึ่งเป็นผลมาจากการ ผสมตัวเอง (Selfing) หรือผสมจากต้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้ชิดกัน (Inbreeding) จะเป็นเมล็ดลีบ (Empty seed) และกล้าไม้มีความอ่อนไหวต่อการถูกโรคและแมลงทำลาย ทำให้ตายก่อนนำไปย้ายลงปลูก ในแปลง ดังพบปัญหาเสมอในการเพาะเมล็ดไม้สนสองใบ เพราะพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำและเมล็ดส่วน หนึ่งเป็นเมล็ดลีบ (Empty seeds) และมีโรคระบาดระหว่างเตรียมกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ (Changtragoon, 1984; Sa-ardavut et al., 1988) นอกจากนี้ กล้าไม้ที่นำไปย้ายลงแปลงปลูกจะมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำ และ ผลผลิตก็จะต่ำตามไปด้วยซึ่งทำให้ไม่คุ้มกับเวลาตลอดจนแรงงาน และงบประมาณที่เสียไป (Hattemer and Bergmann, 1987) แต่ถ้าสามารถคัดเลือกแหล่งของเมล็ดไม้ได้อย่างถูกต้อง คือเลือกแหล่งที่เมล็ดไม้ที่มีค่าอัต ราการ ผสมตัวเองน้อย ก็จะสามารถผลิตกล้าไม้ที่มีคุณภาพได้เพียงพอต่อการปลูกสร้างสวนป่า และไม่ต้องมีการ ปลูกซ่อมบ่อยๆ เพราะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ยืนยาวแม้สภาวะแวดล้อมจะผันแปรตลอดเวลาก็ตาม (ในที่นี้ ไม่ได้รวมผลกระทบจากการบุกรุกทำลายป่าและลักลอบการตัดไม้จากมนุษย์) นอกจากนี้ค่า Standard deviation ของอัตราการผสมตัวเองของไม้สนสองใบจากแต่ละประชากร มีค่าค่อนข้างสูง แสดงว่าอัตราการผสมตัวเองของไม้แต่ละต้นแม้ในประชากรเดียวกันก็มีค่าต่างกัน ดังนั้น เวลาเก็บเมล็ดไม้สนสองใบควรจะเก็บแยกต้นและแยกแหล่งไม่ควรเก็บปะปนกัน ผลของการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้สะเดาไทยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการที่จะ คัดเลือกแหล่งเพื่อเก็บเมล็ดไม้สะเดาไทยเพื่อมาเตรียมกล้าไม้สำหรับการปลูกป่า ควรจะเก็บเมล็ดแยก แหล่งที่มา ไม่ควรให้เมล็ดปะปนกัน เพราะความแตกต่างทางพันธุกรรมของแต่ละประชากรของแต่ละจังหวัด แตกต่างกันอย่างเด่นชัด ดังนั้นในการเตรียมกล้าไม้ และการปลูกป่าไม้สะเดาไทยควรแยกปลูกตามแหล่งให้ อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมและรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ ชนิดนี้ไว้ ภาพที่13.2 การวิเคราะห์ Cluster analysis โดยใช้ Unwieghted pair group method โดยใช้ Nei’s (1978) Unbiased genetic dstance ใน 3 แหล่ง (ประชากร) ของไม้เสม็ดขาว (Melalecuca cajuputi) (ที่มา: สุจิตรา, 2537)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above