Page 155

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

135 มีหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศเเดนมาร์ก ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินเดีย เป็นต้น ได้มีการจัดทำ DNA barcode ในพืชหลายชนิด เพื่อใช้ในการจำแนกชนิดโดยใช้ส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม ที่เป็นทั้งยีน (coding genes) เช่น rbcL matK rpoC1 atpF/H rps4 และที่ไม่ใช่ส่วนของยีน (noncoding spacers) เช่น trnH-psbA psbK/I ITS2 ndhF-rpl32 trnL trnV-trnM1 trnV-trnM2 trnC-petN trnS-trnG atpB-rbcL psbM-trnD trnD-trnE trnH-ITS (CBOL Plant Working Group, 200; Cowan et al., 2006; Pennisi, 2007; Hollingworth et al., 2011; Bhargava and Sharma, 2013; Kress, 2017; Jiao et al., 2018; Yu et al., 2017; Li et al., 2017; Jiao et al., 2013; Hartvig et al., 2015; Ng et al., 2020 และ Fatima et al., 2019) ดีเอ็นเอบาร์โค้ด ยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบดีเอ็นเอของไม้จากเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนและของแต่งบ้านที่ทำจากไม้ หรือไม้ท่อนซุง ไม้แปรรูป เพื่อการส่งออก เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นไม้ชนิดใด และเป็นไม้หวงห้ามและอยู่ในบัญชี แนบท้าย CITES หรือไม่ ซึ่ง ดีเอ็นเอบาร์โค้ดก็ยังสามารถช่วยระบุชนิดได้จากการสกัดสารทางพันธุกรรมที่ หลงเหลืออยู่ในเนื้อไม้ ทั้งนี้ Changtragoon (2011) ได้ริเริ่มจัดทำดีเอ็นเอบาร์โค้ดในไม้ป่าบางชนิดระดับ เบื้องต้นซึ่งจะต้องมีการดำเนินการต่อไปโดยเฉพาะในไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าในบัญชี CITES ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อจัดทำดีเอ็นเอบาร์โค้ดของพันธุไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าที่อยู่ใน บัญชี CITES และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมในระดับโมเลกุลในการจำแนกชนิดไม้ จากตัวอย่างที่ไม่ สามารถจำแนกทางสัณฐานและกายภาพได้ 2. เพื่อใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดเป็นข้อมูลในการพิสูจน์เชิงนิติ วิทยาศาสตร์และขยายผลในการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันการลักลอบตัดไม้ในอนาคต 3. เพื่อ คุ้มครองพันธุ์ไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าที่อยู่ในบัญชีแนบท้าย CITES วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย เก็บตัวอย่างใบหรือเปลือกไม้ของ ไม้สัก ไม้ตระกูลยาง และพันธุ์ไม้ป่าหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2530 (พยงค์, 2550) ดังตารางที่ 14.1 และตารางที่ 14.2 พันธุ์ไม้ของไทยที่อยู่ในบัญชี CITES ได้แก่ ไม้พะยูง และ ไม้กฤษณา จากพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทยนำมาสกัดดีเอ็นเอตามวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการสกัดของ (Doyle and Doyle, 1990) และ (Changtragoon et al., 1996a) แล้วนำมาละลายใน 1X TE buffer (10 mM Tris–HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตร เก็บสารละลายดีเอ็นเอไว้ที่ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพและปริมาณของ สารละลายดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความ เข้มข้น 0.8% และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้แสงอัตราไวโอเลต เปรียบเทียบความเข้มข้นกับดีเอ็นเอ มาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วยไพรเมอร์ในตำแหน่งที่ ศึกษา คือ Maturase K ในตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วย ฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ ไป ทำให้บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ และนำไปจำแนกกลุ่มโดยการ วิเคราะห์ phylogenetic tree โดยใช้โปรแกรม MEGA 4 (Tamura et al., 2007) วิธี Neighbour Joining method แบบ Bootstrap.


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above