134 เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้ สูญพันธุ์โดยออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 กำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้าม ไม้หวง ห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า 250 ชนิด พร้อมทั้งกำหนด อัตราค่าหลวงไว้ด้วย ตัวอย่าง เช่น ไม้มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) อินทนิล (Lagerstroemia speciosa) อื่นๆ เช่น ตะแบกเปลือกหนา ตะแบกเปลือกบาง เสลา ตะเคียน สนทะเล เต็งหรือแงะ รังหรือเปา ยางกราด ยางพลวง นอกจากนี้ ในพระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ พ.ศ. 2484 ได้กำหนดว่า ไม้สักและไม้ตระกูลยางไม้ทั้งสองชนิดนี้ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การ ตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมาย ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรม ป่าไม้หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (พยงค์, 2550) ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่ พันธุ์ไม้ บางชนิดที่ทางการได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่น เปลือกหรือเนื้อ ไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของ อื่นมาใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟันโค่นล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ สนเขามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ สนสองใบ (Pinus merkusii) สนสามใบ (Pinus khasya) ที่มีปริมาณน้อยและหายาก ได้แก่ พญาไม้ (มีอยู่ 3 ชนิด คือ พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) พญาไม้หรือ ซางจิง (Podocarpus neriifolia)) แปกลม (Colocedrus macrolepis) มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii) สามพันปี (Dacrydium elatum) อื่นๆเช่น กฤษณาหรือกระลำพัก หอม หรือ สบ หรือ กะตุก กระเบาใหญ่ มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ รักใหญ่ (สารานุกรม, 2523) DNA barcode เกี่ยวข้องกับผลผลิตของการเพิ่มจำนวน amplicons ในบริเวณที่ต้องการถอดลำดับ นิวคลีโอไทด์และข้อมูลถอดรหัสพันธุกรรมดังกล่าวจะถูกใช้ในการจำแนกหรือวินิจฉัยว่าชนิดพันธุ์นั้นๆ มีความ แตกต่างจากชนิดพันธุ์อื่น (Lebonah et al., 2014) วุฒิพงศ์ (2554) กล่าวว่า DNA barcode เป็นวิธีการทางชีววิทยาระดับโมเลกุลได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ใน การระบุชนิดหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ววิธีการนี้อาศัยหลักการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของสาย ดีเอ็นเอในบริเวณที่เรียกว่า “ดีเอ็นเอมาตรฐาน” จากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ทราบชื่อแล้วนำ ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ ได้ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของสิ่งมีชีวิตที่ทราบชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว บริเวณดีเอ็นเอ มาตรฐานที่นำมาใช้เปรียบเทียบนั้นอาจเป็นบริเวณเดียวหรือ 2-3 บริเวณ แต่ต้องมีความยาวไม่มากและ เป็น บริเวณเดียวกับชนิดอื่นๆ ที่ต้องการใช้เปรียบเทียบกัน วิธีการสร้างระบบ DNA barcode จะช่วยให้ระบุชื่อ สิ่งมีชีวิตได้จากทุกระยะของการเจริญ รวมถึงในสภาพที่เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็ก ทั้งที่เป็นตัวอย่างสดและ ตัวอย่างที่ถูกรักษาสภาพไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชนอย่างมากต่อนักอนุกรมวิธานและบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความ ชำนาญทางด้านอนุกรมวิธานและ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาอื่นได้ เช่น การศึกษาทางด้าน นิเวศวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above