Page 175

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

155 บทที่ 15 การจำแนกไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ออกจาก ไม้ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน (Dalbergia oliveri) กระพี้เขาควาย (Dalbergia cultrata) เก็ดดำ (Dalbergia assamica) โดยการถอดรหัสพันธุกรรมจากยีน Maturase K คำนำ พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) จัดอยู่วงศ์ถั่ว (Leguminosae-Papilionoideae) พะยูง (D. cochinchinensis) เป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ใน กัมพูชา ลาว และไทย สำหรับในประเทศไทยนั้นพบในแถบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศ มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ในป่าผสมผลัดใบและป่าดิบแล้งที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-200 เมตร เป็นไม้ผลัดใบที่มีขนาดปานกลางถึงขนาด ใหญ่ (Niyomdham, 2002) ลักษณะเด่นของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) คือ เนื้อไม้พะยูง (D. cochinchinensis) โดยกระพี้ (sapwood) ส่วนใหญ่มีสีขาว มีความ กว้าง 40-50 มิลลิเมตร ส่วนแก่น (heartwood) มีสีม่วงอ่อนกุหลาบ (light rose purple) ไปจนถึง สีม่วง แดง (burgundy) โดยมีริ้วลายสีน้ำตาลดำหรือสีดำ เป็นไม้ที่ทนทานและแข็งแรง คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เป็น ที่สนใจและต้องการอย่างยิ่ง ซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Thailand rosewood หรือ Siamese Rosewood (Keating and Bolza, 1982) พะยูง (D. cochinchinensis) จัดไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าในอันดับ ต้นๆของไทย และถือเป็นไม้มงคลชั้นสูง เนื่องจากพะยูง (D. cochinchinensis) มีเนื้อไม้หรือแก่นไม้ที่มีสีสัน ลวดลายงดงาม ชักเงาดี และคงทนแข็งแรงดังนั้นจึงมักถูกนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในลักษณะของไม้แปรรูปใน การก่อสร้าง และทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงวัตถุมงคล ในปัจจุบันเนื้อไม้ พะยูง (D. cochinchinensis) เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน และเวียดนาม และมีราคาค่อนข้างสูงด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดขบวนการลักลอบตัดไม้ พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศไทย นอกจากนี้ปัจจุบันพบปัญหาการจำแนกไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ออกจากไม้ที่มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกัน เช่น ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน (Dalbergia oliveri) กระพี้เขาควาย (Dalbergia cultrata) และเก็ดดำ (Dalbergia assamica) ทำได้ยากด้วยตาเปล่าจะต้องมีการเฉือนเนื้อไม้เพื่อดูจากแว่นขยายและผู้เชี่ยวชาญ จึงจะสามารถจำแนกได้ ส่วนในการทวนสอบว่าเป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) หรือไม่สามารถจำแนก โดยรหัสพันธุกรรมจำเพาะ ในการจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมที่มีความจำเพาะของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในการจำแนกชนิดไม้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ลักษณะทางสัณฐานและกายภาพในรูปแบบ ที่แตกต่างกันไป เช่น ขี้เลื่อยที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือขี้เลื่อยที่ติดอยู่ที่ใบเลื่อยยนต์ ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการในการจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมที่มีความจำเพาะในไม้พะยูง (D. cochinchinensis) และไม้ที่มีความสำคัญ และมีค่าทางเศรษฐกิจ


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above