Page 176

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

156 วิธีการศึกษาวิจัย Changtragoon and Singthong (2016) ได้สกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างใบไม้และเนื้อไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ชิงชัน (D. oliveri) เก็ดดำ (D. assamica) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และประดู่ (P. macrocarpus) ด้วยวิธี Doyle and Doyle (1990) และวัดปริมาณและคุณภาพดีเอ็นเอ ด้วยวิธี อิเล็กโตรโฟรีซีส แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยใช้ เทคนิค Polymerase Chain Reaction(PCR) ที่ยีน maturase K ขนาด 470 bp นำดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณเรียบร้อยแล้วมาวิเคราะห์รหัส พันธุกรรมจากเครื่อง ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied) Biosystem, USA และ นำมาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับ นิวคลีโอไทด์ กับฐานข้อมูล genbank และนำไปจำแนกกลุ่มโดยการวิเคราะห์ phylogenetic tree โดยใช้โปรแกรม MEGA 4 (Tamura et al., 2007) วิธี Neighbour Joining method แบบ Bootstrap (Felsenstein, 1985). ผลการศึกษาวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ทำการจำแนกไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ออกจาก ชิงชัน (D. oliveri) เก็ดดำ (D. assamica) กระพี้เขาควาย (Dalbergia cultrata) และประดู่ (P. macrocarpus) โดยการถอดรหัสพันธุกรรมใน ยีน Maturase K ขนาด 720 bp ดีเอ็นเอสกัดได้จากใบไม้และเนื้อไม้ของตัวอย่างชนิดไม้ดังกล่าวข้างต้นพบว่าไม้ พะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างจากไม้ชิงชัน (D. oliveri) เก็ดดำ (D. assamica) กระพี้ เขาควาย (D. cultrata) และประดู่ (P. macrocarpus) ถึง 41 ตำแหน่ง โดยไม้พะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับ นิวคลีโอไทด์แตกต่างจาก ชิงชัน (Dalbergia oliveri) 19 ตำแหน่ง, กระพี้เขาควาย (D. cultrata) 19 ตำแหน่ง เก็ดดำ (D. assamica) 16 ตำแหน่ง และประดู่ (P. macrocarpus) 49 ตำแหน่ง ส่วนความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) เปรียบเทียบกับ ประดู่ (P. macrocarpus) ชิงชัน (D. oliveri) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และเก็ดดำ (D. assamica) แสดงดังภาพที่ 15.1 ภาพที่ 15.2 แสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของไม้ พะยูง (D. cochinchinensis) ประดู่ (P. macrocarpus) ชิงชัน (D. oliveri) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และเก็ดดำ (D. assamica) (Changtragoon and Singthong, 2016)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above