Page 178

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

158 สรุปผลการศึกษาวิจัย 1. ใ น ก า ร ถ อ ด ร หัส พัน ธุก ร ร ม ที่ยีน Maturase K นั้น ส า ม า ร ถ จ ำ แ น ก ไ ม้พ ะ ยูง (D. cochinchinensis) ออกจากไม้ ไม้ประดู่ (P. macrocarpus) ชิงชัน (D. oliveri) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) เก็ดดำ (D. assamica) โดยพบว่าไม้พะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ แตกต่างจากไม้ ชิงชัน (D. oliveri) เก็ดดำ (D. assamica) กระพี้เขาควาย (D. cultrata)และประดู่ (P. macrocarpus) ถึง 41 ตำแหน่ง โดยพะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับนิวคลีโอไทด์แตกต่างจาก ชิงชัน (D. oliveri) 19 ตำแหน่ง, กระพี้เขาควาย (D. cultrate) 19 ตำแหน่ง เก็ดดำ (D. assamica) 16 ตำแหน่ง และประดู่ (P. macrocarpus) 49 ตำแหน่ง 2. สามารถพิสูจน์ชนิดจากไม้ที่มีลักษณะทางสัณฐานและกายภาพในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ขี้เลื่อย ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆได้โดยใช้การถอดรหัสพันธุกรรมยีนจาก Maturase K 3. สามารถใช้ในการทวนสอบในการจำแนกจากทางสัณฐานวิทยาและทางกายภาพ 4. สามารถเสริมศักยภาพและนำไปขยายผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันและบังคับใช้กฎหมายของ กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา (ไซเตส: อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์) 5. สามารถนำเสนอให้ ไซเตส: อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้จะสูญพันธุ์ ควบคุมการค้าระหว่างประเทศของผลิตภัณฑ์ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) เพราะ สามารถจำแนกไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ออกจากไม้ชนิดอื่นๆ จากผลิตภัณฑ์ได้จากการวิเคราะห์ ทางดีเอ็นเอได้ (Changtragoon and Singthong, 2016)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above