Page 179

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

159 บทที่ 16 การจำแนกไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) และไม้สะเดา อินเดีย (Azadirachta indica) โดยยีน Maturase K ในคลอโรพลาสต์จีโนม คำนำ ไม้สะเดา (Azadirachta spp.) เป็นไม้ต้นที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ Meliaceae และเป็นไม้ดั้งเดิมของเขตเอเชีย อาคเนย์ ซึ่งมีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พบในป่าเขตร้อนทั่วไปเช่น ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่า (Forster and Moser, 2000) และนำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก ออสเตรเลีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้ แคริเบียน และตะวันออก กลาง (Stoney, 1997) สำหรับในประเทศไทยพบการกระจายพันธุ์เกือบทุกภาคของประเทศไทย (Gardner et al., 2000) ไม้สะเดานอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้วยังเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ทางด้านกำจัดแมลงศัตรูพืชทดแทนการ ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายแก่ผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับกากน้ำตาลเป็นอาหารสัตว์ ใช้ทำปุ๋ย เป็น ยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น จากประโยชน์ที่กล่าวมานั้น ไม้สะเดาจึงเป็นที่รู้จักและศึกษากันอย่างกว้างขวางในด้านการ นำไปใช้ประโยชน์ สำหรับการศึกษาลักษณะพันธุกรรมได้มีการศึกษามาบ้างแล้วเช่นการศึกษาของ Deshwal et al. (2005) และ Dhillon et al. (2007) เป็นต้น ทั้งนี้ Changtragoon et al. (1996b) และจันทร์เพ็ญ และสุจิตรา (2550) ได้ศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) และ ไม้สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica) โดยใช้ Isoenzyme gene และเครื่องหมาย ไมโครแซทเทลไลท์ (SSR markers) ซึ่งมีความแตกต่างชัดเจน อย่างไรก็ตามไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) ได้ถูกจัดให้เป็น variety ของไม้สะเดาอินเดีย (A. indica) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า A. indica var. siamensis ซึ่งลักษณะภายนอก ไม่ว่าลักษณะใบ ลักษณะเปลือกมีความแตกต่างกันและช่วงเวลาการออกดอกออกผลก็ไม่ตรงกันด้วย (Sombatsiri et al., 1995) การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมโดยการเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมจากยีน matK ที่มีอยู่ในคลอโรพลาสต์จีโนมและศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) และไม้สะเดาอินเดีย (A. indica) จากแต่ละแหล่งและจากแต่ละประเทศที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติและที่ นำไปปลูกในประเทศต่างๆว่าจะมีความแตกต่างกันและมีความสอดคล้องกับการศึกษาของ Changtragoon et al. (1996b) และ จันทร์เพ็ญ และสุจิตรา (2550) หรือไม่ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย สุจิตรา (2554) ได้เก็บใบอ่อนของไม้สะเดาไทย(A. indica var. siamensis) และไม้สะเดาอินเดีย (A. indica) จำนวน 24 แหล่งจาก 9 ประเทศต่างๆ แหล่งละ 2 ต้น จากสถานีทดลองปลูกนานาชาติ จ.กาญจนบุรี (ตารางที่ 16.1) นำตัวอย่างมาสกัดดีเอ็นเอตามวิธีที่ประยุกต์จากการสกัดของ Doyle and Doyle (1990) และ Changtragoon et al. (1996a) เมื่อได้สารละลายดีเอ็นเอแล้วนำไปตรวจสอบปริมาณและคุณภาพด้วยอะกาโรสเจล โดยวิธีอิเล็กโทรโฟริซิส


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above