162 ประเทศ คือ (1) ประเทศอินเดีย 8 แหล่ง ได้แก่ เมือง Tamil Nadu, Karnataka (Ghaati Subramanyu), Orissa, Chanatoria Madhya Pradesh, Maharashtra, Karnataka (Chitradurga), Jodhure และ Uttar Pradesh (2) ประเทศเมียนมาร์ 2 แหล่ง ได้แก่ เมือง Myene และ Yezin (3) ประเทศปากีสถาน 2 แหล่ง ได้แก่ เมือง Cantonment Area และ Rahimyar Khan (4) ประเทศศรีลังกา 1 แหล่ง ได้แก่ เมือง Kuliyapitiya (5) ประเทศเซเนกัล 1 แหล่ง ได้แก่ เมือง Bandia (6) ประเทศกาน่า 1 แหล่ง ได้แก่ เมือง Sunyani (7) ประเทศเนปาล 2 แหล่ง ได้แก่ เมือง Lamahi และ Geta กลุ่มที่ 2 เป็นไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) ประกอบด้วย 2 ประเทศ คือ (1) ประเทศไทย 6 แหล่ง ได้แก่ บ้านหนองหอย และบ้านหนองโรง จ.กาญจนบุรี ทุ่งหลวง จ.สุราษฎร์ธานี บ้านบ่อ จ.กาฬสินธุ์ ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ และเขา หลวง จ.นครสวรรค์ (2) สปป.ลาว 1 แหล่ง ได้แก่ เมืองเวียงจันทน์ จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถจำแนก ไม้สะเดาออกได้เป็น 2 กลุ่มได้อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Changtragoon et al. (1996a) ในการจำแนกไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) ไม้สะเดาเทียม (A. excelca) และไม้สะเดาอินเดีย (A. indica) โดยใช้ Isoenzyme genes และจันทร์เพ็ญ และสุจิตรา (2550) ในการจำแนกไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) กับไม้สะเดาอินเดีย (A. indica) โดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ (SSR markers) ได้อย่างชัดเจน (ภาพที่ 16.4 และภาพที่ 16.5) และยังสอดคล้องกับการศึกษาของ Singh et al. (2002) ที่ศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) และไม้สะเดา อินเดีย(A. indica) โดยการใช้เครื่องหมายเอเอฟแอลพี (AFLP markers) และเครื่องหมายเอสเอเอ็มพีแอล (SAMPL markers) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) ควรจะยกระดับจากระดับ พันธุ์ (variety) ขึ้นเป็นระดับชนิด (species) อย่างไรก็ตามควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ที่มีความรู้ ความชำนาญในการจำแนกไม้วงศ์ Meliaceae ถึงข้อสรุปในการปรับสถานภาพของไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) อย่างไรก็ตามการที่สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) มีความแตกต่างทางพันธุกรรม อย่างชัดเจนจากสะเดาประเทศอินเดีย (A. indica) จึงควรให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการดูแลแหล่ง พันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (A. indica var. siamensis) ทั้งในถิ่นและนอกถิ่นกำเนิดเพื่อการใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืนในอนาคต
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above