Page 19

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

คำนำ เอกสารฉบับนี้เป็นการเขียนและรวบรวมร้อยเรียง ประสบการณ์ การทำงานวิจัยพันธุศาสตร์ป่า ไม้ระดับโมเลกุลทางพันธุกรรมของผู้เขียนบางส่วนที่พอจะประมวลได้ ให้เข้าเนื้อหาในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยได้สอดแทรกเนื้อหาหลักการทางทฤษฎีจากตำรา ต่างประเทศ และประสบการณ์ที่เคยบรรยายและเขียนเอกสารทางวิชาการ เอกสารตำรา ในวาระและโอกาส ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งที่ยังไม่เคยเผยแพร่และหากเคยเผยแพร่ในเอกสารตำราหรือวารสารทาง วิชาการและที่ประชุมระดับชาติและนานาชาติก็จะมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูล ในลักษณะข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อให้ผู้อ่านได้มองในภาพรวมได้ว่าผู้เขียนได้ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอะไรมาบ้าง โดยปรับเนื้อหาให้ทันต่อ สถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ได้สร้างความเชื่อมโยงของหลักวิธีการศึกษา เหตุผล วัตถุประสงค์ จนถึงประมวลผล และสังเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอและรหัส พันธุกรรม เพื่อนำมาประเมินสถานภาพทรัพยากรทางพันธุกรรมของไม้ป่าและพืชป่าหลายชนิดในระบบ นิเวศและสังคมป่าที่หลากหลายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและในระบบนิเวศ เพื่อที่จะได้ข้อมูลสถานภาพ ทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้ ที่เป็นข้อเสนอแนะและนำไปสู่การพัฒนาขยายผลเป็นการวางแผนและบริหาร จัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนี้ได้ สอดแทรกประสบการณ์ของผู้เขียนในการประยุกต์ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและรหัสพันธุกรรมในงานด้าน นิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ด้วย ทั้งนี้องค์ประกอบของเอกสารฉบับนี้มีทั้งหมด 26 บท โดยได้อธิบายพื้นฐานความรู้พันธุศาสตร์ป่า ไม้ระดับโมเลกุลในบทที่ 1 ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้ โดยได้สอดแทรก หลักการและการประยุกต์ใช้ผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้หลายชนิด ส่วนบทที่ 3 กล่าวถึงวิธีการพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellites markers) ในไม้ป่าใน ประเทศไทยที่ผู้เขียนและทีมงานได้พัฒนาขึ้น บทที่ 4 -12 เป็นการเรียบเรียงและยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ ผู้เขียนได้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมไม้ป่าและพืชป่าหลายชนิด เช่น ไม้สนสองใบ ไม้สัก ไม้ยางนา ไม้โกงกางใบเล็กและไม้โกงกางใบใหญ่ ไผ่ป่า กล้วยไม้รองเท้านารี ไม้พะยูงและไม้ชิงชัน ซึ่งผลการศึกษา ดังกล่าวได้นำเสนอผลการประเมินสถานภาพทรัพยากรพันธุกรรมของชนิดพันธุ์ไม้ป่าและพืชป่า เพื่อเป็น ข้อสรุปแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการปลูกป่าที่เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ไม้ป่าและพืชป่าในแต่ละชนิดที่ ศึกษา บทที่ 13 ได้กล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าต่อการพิจารณาวางแผนการ ปลูกป่า โดยได้หยิบยกกรณีศึกษาไม้ป่าบางชนิด เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น บทที่ 14 เป็นการ พัฒนาดีเอ็นเอบาร์โค้ด (DNA barcode) เพื่อการคุ้มครองพันธุ์ไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าในบัญชี CITES ใน ประเทศไทย บทที่ 15-16 เป็นการจำแนกชนิดไม้ ไม้พะยูง และกลุ่มชนิดไม้ใกล้เคียง และการจำแนกชนิดไม้ สะเดาเป็นต้น โดยการถอดรหัสพันธุกรรม ส่วนบทที่ 17 เป็นการพิสูจน์ไม้โกงกางว่าเป็นโกงกางลูกผสม หรือไม่โดยการถอดรหัสพันธุกรรม บทที่ 18-24 เป็นกรณีศึกษาของคดีนิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้โดยการใช้รหัส พันธุกรรมของลำดับนิวคลีโอไทด์ในคลอโรพลาสต์จีโนมในการพิสูจน์ขี้เลื่อยหรือชิ้นไม้จากต้นที่ลักลอบตัด หรือถูกลับลอบล้อมไปปลูกอีกที่หรือไม่ ซึ่งมีทั้งในกรณีของไม้ป่าหวงห้าม ไม้สัก ไม้มะม่วง ไม้พะยูง และไม้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above