Page 20

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

บุนนาค และสถานที่เกิดเหตุซึ่งมีทั้งอุทยานแห่งชาติ วัด และพื้นที่เอกชน บทที่ 25 กล่าวถึงคดีนิติ วิทยาศาสตร์สัตว์ป่า 4 คดี คือ อุรังอุตัง เสือ ผลิตภัณฑ์งาช้าง และชิ้นเนื้อต้องสงสัยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็น เอและการถอดรหัสพันธุกรรมในการพิสูจน์ ชนิดพันธุ์ แหล่งที่มา และจำนวนตัวเพื่อใช้ในการบังคับใช้ กฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ท้ายสุดในบทที่ 26 ได้สรุปผลและข้อเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ ทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้ การฟื้นฟูป่าและปลูกป่าโดยใช้พันธุ์ไม้ป่าและพืชป่า ที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาให้ เห็นในภาพรวมและเข้าใจง่าย และสามารถนำไปขยายผลต่อยอดในการบริหารจัดการป่าไม้และสัตว์ป่าได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์และให้ความรู้แก่หน่วยงานในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป่าไม้ ในการวางแผนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในการอนุรักษ์ และป้องกันไม้ป่าหวงห้ามในไม้ป่าในบัญชีแนบท้ายไซเตสโดยเฉพาะไม้พะยูง และไม้มีค่าที่ถูกคุกคาม เช่นไม้ ชิงชัน และชนิดอื่นๆ ตลอดจนการฟื้นฟูป่า และสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถทราบวิธีการศึกษาทางพันธุกรรมของไม้ป่าในคดีของไม้ของกลางว่าดำเนินการ อย่างไร วิเคราะห์ผลอย่างไร และได้ทราบผลและทำการส่งตัวอย่างมาขอความช่วยเหลือให้พิสูจน์พันธุกรรม ไม้ของกลางในอนาคตว่าควรทำอย่างไร รวมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรบริหารจัดการของกลางทั้งไม้ป่าและ สัตว์ป่าอย่างไร และการวางแผนการปฏิบัติงานและการเขียนรายงานการวินิจฉัยพันธุกรรมไม้ป่าและสัตว์ป่า อย่างไร นอกจากนี้องค์ความรู้ดังกล่าวสามารถเผยแพร่สู่ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนมหาวิทยาลัย สถานศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในการได้รับความรู้ ความเข้าใจว่าหน่วยงานภาครัฐดำเนินการบริหารจัดการ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าโดยใช้องค์ความรู้ด้านพันธุศาสตร์ป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างไร สุจิตรา จางตระกูล กันยายน 2564


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above