172 2. การพิสูจน์ว่าไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) หรือใบใหญ่เป็นต้นแม่ของไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าว การพิสูจน์ต้นแม่โดยการการถอดรหัสพันธุกรรมในคลอโรพลาสต์ยีนในไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าว โดย เปรียบเทียบระหว่างไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) พบว่าไม้โกงกาง ใบใหญ่ (R. mucronata) เป็นต้นแม่และยีนที่จำเพาะถูกถ่ายทอดโดยไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) 3. การพิสูจน์ถึงสถานภาพที่จริงว่าไม้โกงกางดังกล่าวเป็นลูกผสมจริง สามารถกระตุ้นให้นักวิชาการ ที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธรขยายผลต่อยอดต่อการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในอนาคต เพื่อใช้ใน การฟื้นฟูป่าได้เนื่องจากไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าวมีลักษณะการเจริญเติบโตและรากค้ำยันที่ใหญ่ ใบใหญ่ อย่างชัดเจน แข็งแรงกว่าไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และโกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) ผลการศึกษานี้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธรได้มีการขยายผลในการติดป้ายให้ความรู้แก่ผู้รับการ ฝึกอบรม ผู้ร่วมประชุมสัมมนานานาชาติ และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมป่าชายเลนที่อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติ สิรินธร ได้รับทราบข้อมูลทางวิชาการในการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นลูกผสมจริง โดยใช้ดีเอ็นเอ เทคโนโลยีจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้สร้างภาพลักษณ์อันดีด้านวิชาการทางด้านงาน พันธุกรรมไม้ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และความร่วมมือทางวิชาการของทั้งสอง หน่วยงาน (Changtragoon et al., 2016)
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above