Page 191

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

171 ชนิดพันธุ์ที่ศึกษา ตำแหน่งคลอโรพลาสดีเอ็นเอที่ศึกษา ภาพที่ 17.2 ความแตกต่างของลำดับนิวเคลียสที่จำเพาะกับไม้โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora muconata) ไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางที่คาดว่าเป็นลูกผสม (Putative hybrid) ที่ นิวเคลียส 3 ตำแหน่ง (DLDH SBE2 และ FMRrm11) (ที่มา: Changtragoon et al., 2016) ชนิดพันธุ์ที่ศึกษา ตำแหน่งคลอโรพลาสดีเอ็นเอที่ศึกษา ภาพที่ 17.3 ความแตกต่างของลำดับนิวเคลียสที่จำเพาะกับไม้โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora muconata) ไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางที่คาดว่าเป็นลูกผสม (Putative hybrid) ใน ตำแหน่งคลอโรพลาสต์ (atpB-rbcL intergenic spacer) (ที่มา: Changtragoon et al., 2016) สรุปผลการศึกษาวิจัย 1. การพิสูจน์ไม้โกงกางว่าเป็นลูกผสมหรือไม่และเกิดจากการผสมของไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) กับไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) หรือไม่นั้นพิสูจน์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมโดยยีน ในนิวเคลียส 3 ยีน พบว่าไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าวมียีนที่จำเพาะของทั้งไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) จึงสรุปได้ว่าไม้โกงกางลูกผสมเป็นลูกผสมระหว่างไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) จริง


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above