Page 196

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

176 Sample 3 86 Hibiscus ... 99 Hibiscus ... Quararibe... STERCULIACEAE 3 44 4 2 Sample Aquilaria... 100 2 Sample 19 Aquilaria... Aquilaria 22 1 crassna 4 (Agarwood) Sample 1 ภาพที่ 18.2 Phylogenetic tree แสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากตัวอย่างขี้เลื่อยกับพรรณไม้ที่มีใน ฐานข้อมูล (genbank) ใน trnH–psbA ซึ่งคำนวณตามวิธี Neighbour Joining แบบ Bootstrap โดยโปรแกรม MEGA4 (ที่มา: สุจิตรา, 2560) สรุปผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. การศึกษาวิจัยตัวอย่างเนื้อไม้ 1 ตัวอย่าง (ตัวอย่างที่ 1) และขี้เลื่อย 3 ตัวอย่าง (ตัวอย่างที่ 2 3 และ 4) ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ psbA-trnH ผลการศึกษาจากตัวอย่างของกลางทั้งหมด 4 ตัวอย่าง สามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้ 4 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นไม้ชนิดเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับไม้กฤษณา ส่วน ตัวอย่างที่ 3 และ 4 เป็นไม้ชนิดเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับไม้ในวงศ์ปอ ดังนั้นจึง พบว่าตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นไม้คนละชนิดกับตัวอย่างที่ 3 และ 4 2. ผลการวินิจฉัยพันธุกรรมครั้งนี้ได้จัดส่งรายงานผลเป็นทางการจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ตามหนังสือที่ ทส 0907.7/152 ลงวันที่ 26 มกราคม 2554 เพื่อดำเนินการต่อไป (สุจิตรา, 2560)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above