Page 201

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

181 (deposit) เป็นบางพอร์ เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบพาเรงคิมาไม่ติดพอร์ (metatracheal parenchyma) ดังภาพที่ 20.1 ภาพที่ 20.1 ภาพถ่ายทางกายวิภาคภายใต้กล้องสเตอริโอไมโครสโคป (Stereo Microscope) กำลังขยาย 500 μm ของไม้ standard ของไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) (ซ้าย) และไม้บุนนาค/ นากบุด (Mesua ferrea) (ขวา) 2. ถอดรหัสพันธุกรรมในส่วนของคลอโรพลาสต์ดีเอ็นเอ คือ psbA-trnH spacer region สกัด DNA จากตัวอย่างเนื้อไม้ด้วยชุดสกัด DNeasy Plant Kit (QIAGEN) แล้วนำ ดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีน ในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ psbA-trnH (intergenic spacer) แล้วจึงวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ ศึกษา จากหลักการของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วยฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ ไปทำ ให้บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดย การเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ในการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของพืชแต่ละชนิดโดยผ่าน โปรแกรม Bioedit , DnaSP4.0 และ Mega 3.1 ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. ผลการพิสูจน์ตัวอย่างเนื้อไม้ของกลาง 9 ตัวอย่าง โดยการพิสูจน์ลักษณะทางกายวิภาคภายใต้กล้อง สเตอริโอไม-โครสโคป (Stereo Microscope) พบว่าลักษณะทางกายวิภาคของไม้ของกลางทั้ง 9 ตัวอย่าง มี ลักษณะทางกายภาพตรงกับไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) คือ พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว (solitary pore) ส่วนมาก พอร์แฝด (multiple pore) มีน้อย การเรียงเป็นแบบ พอร์เฉียง (pore oblique) การกระจายเป็นแบบ กระจัดกระจาย (diffuse pore) พอร์ใหญ่ ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) เกือบทุกพอร์ และ มีสารตกค้าง (deposit) เป็นบางพอร์ เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ พาเรงคิมาไม่ติดพอร์ (metatracheal parenchyma) ดังภาพที่ 20.2


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above