180 บทที่ 20 คดีนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ คดีที่ 3: การพิสูจน์ตัวอย่างเนื้อไม้ของกลางว่า เป็นไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) หรือไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) โดยใช้วิธีพิสูจน์ลักษณะทางกายวิภาคภายใต้กล้องสเตอริโอไมโครสโคป (Stereo Microscope) และถอดรหัสพันธุกรรม คำนำ ด้วยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส 0916.303/4961 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2560 รายงานว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 ที่ 140/2560 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้ทำการตรวจสอบไม้ของกลางที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ตรวจยึด เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 คือไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ท่อน จำนวน 9 ท่อน ปริมาตร 0.58 ลูกบาศก์เมตร คดีอาญาที่ 287/2556 ยึดทรัพย์ที่ 109/2556 ของสถานีตำรวจภูธรนาโยงซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ ที่ทำการ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ขป.3 (บ้านน้ำราบ) และคณะกรรมการฯ ได้ลงความเห็นร่วมกันว่าไม้ของกลาง ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ตามที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดไว้ แต่น่าจะเป็นชนิดไม้นากบุด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับไม้ของกลางดังกล่าว เห็นควรให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิสูจน์เนื้อไม้ของกลางดังกล่าว มา พิสูจน์เนื้อไม้ของกลางว่าเป็นไม้ชนิดใดจะได้แจ้งให้อุทยานเขาปู่-เขาย่า ได้รายงานและดำเนินการต่อไป ซึ่งผู้เขียน ได้รับมอบหมายตามสายงานให้ตรวจพิสูจน์ไม้ของกลางดังกล่าว วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม เนื่องจากเนื้อไม้ที่ส่งมาวินิจฉัยชนิดพันธุ์มีลักษณะมียางเหนียวในเนื้อไม้ซึ่งยากต่อการสกัดดีเอ็นเอจึงได้ ทำการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของไม้ร่วมด้วยดังนี้ 1. วิเคราะห์ลักษณะทางกายวิภาคของไม้ standard โดยเปรียบเทียบและอ้างอิงจาก อุทารัตน์ และ คณะ (2559) ได้แก่ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis Pierre) และไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea Linn.) ภายใต้ กล้องสเตอริโอไมโครสโคป (Stereo Microscope) ขนาด 500 μm พบว่า ลักษณะทางกายวิภาคของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) พบว่าพอร์ส่วนมากเป็นพอร์เดี่ยว (solitary pore) พอร์แฝด (multiple pore) มีน้อย แบบ ของการเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบ กระจัดกระจาย (diffuse pore) พอร์ใหญ่ทางภายในพอร์มีสาร ตกค้าง (deposit) เป็นบางพอร์ เส้นเรย์เห็นไม่ค่อยชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ พาเรงคิมาแบบปีก (aliform parenchyma) และ พาเรงคิมาแบบปีกต่อ (confluent parenchyma) มีลายริ้ว (ripple mark) ดังภาพที่ 20.1 ส่วนลักษณะทางกายวิภาคของไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) พบว่าพอร์ เป็นแบบพอร์เดี่ยว (solitary pore) ส่วนมากพอร์แฝด (multiple pore) มีน้อย การเรียงเป็นแบบพอร์เฉียง (pore oblique) การกระจายเป็นแบบ กระจัดกระจาย (diffuse pore) พอร์ใหญ่ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) เกือบทุกพอร์ และ มีสารตกค้าง
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above