Page 204

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

184 สรุปผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. การศึกษาวิจัยตัวอย่างชิ้นไม้จำนวน 9 ตัวอย่าง ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ลักษณะทางกายวิภาคของไม้ standard โดยเปรียบเทียบและอ้างอิงจาก อุทารัตน์ และ คณะ (2559) ได้แก่ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) และไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) ภายใต้กล้องสเตอริโอไมโครสโคป (Stereo Microscope) ขนาด 500 μm พบว่าเป็นไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) ไม่ใช่ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) 2. จากผลการศึกษาวิจัยตัวอย่างเนื้อไม้ของกลางจากการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วน trnH-psbA spacer region พบว่าดีเอ็นเอของชิ้นไม้ของกลางเหมือนกับไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) 3. ผลการวินิจฉัยพันธุกรรมครั้งนี้ได้จัดส่งรายงานผลเป็นทางการจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช ไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) ตามหนังสือที่ ทส 0907.7/2535 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2560 เพื่อดำเนินในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above