Page 205

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

185 บทที่ 21 คดีนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ คดีที่ 4: การพิสูจน์ว่าไม้สัก (Tectona grandis) ของกลางที่ถูกจับกุมเป็นไม้สักที่ถูกตัดมาจากสวนป่าหรือไม่ คำนำ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิจิตรเมื่อปี 2557 ได้มีการประสานและขอ ความอนุเคราะห์มายังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมส่งเนื้อเยื่อไม้สัก จำนวน 6 ชิ้น และ เก็บเนื้อเยื่อที่ตอไม้สักในสวนป่า จำนวน 5 ตอ มาเพื่อให้ทำการตรวจพิสูจน์ DNA เนื้อเยื่อไม้สัก ในการ พัฒนาเทคนิคว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนได้รับมอบหมายตามสายงาน ให้ตรวจพิสูจน์ไม้ของ กลางดังกล่าว วิธีการวินิจฉัยพันธุกรรม สกัดดีเอ็นเอจากชิ้นไม้สัก (Tectona grandis) ของกลางจำนวน 6 ชิ้นและเนื้อไม้จากตอที่ถูก ลักลอบตัดจำนวน 5 ตอ ดังภาพที่ 21.1 ตามวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการสกัดของ Doyle and Doyle (1990) และ Changtragoon et al. (1996a) แล้วนำมาละลายใน 1X TE buffer (10 mM Tris–HCl, 1 mM EDTA, pH 8.0) 50-100 ไมโครลิตร เก็บสารละลายดีเอ็นเอไว้ที่ตู้ –20 องศาเซลเซียส วัดคุณภาพ และปริมาณของสารละลายดีเอ็นเอ ด้วยวิธีอะกาโรสเจลอีเล็กโตรโฟริซีส (agarose gel electrophoresis) โดยใช้อะกาโรสเจลที่มีความเข้มข้น 0.8% และนำแผ่นเจลไปส่องดูภายใต้แสงอัตราไวโอเลต เปรียบเทียบ ความเข้มข้นกับดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 1 kb แล้วบันทึกภาพ แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนด้วย ไพรเมอร์มาวิเคราะห์โดยเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ ( microsatellite markers) 4 เครื่องหมายดีเอ็นเอ โดยใช้ Taq DNA polymerase (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่อง เพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้โปรแกรมดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที 94 องศาเซลเซียส 30 วินาที ที่ อุณหภูมิ 50 หรือ 55 หรือ 60 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิของ annealing ของไพรเมอร์ 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 วินาที จำนวน 35 รอบ วิเคราะห์โดยวิธีการติดสีฟลูออเรสเซ็น หลังจากนั้นวิเคราะห์ จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่ง (number of allele per locus, N) และวิเคราะห์ลักษณะพันธุกรรมของ แต่ละตัวอย่าง การจัดแผนผังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al., 1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above